NEWS & ARTICLES
Digital Signature คืออะไร สรุปง่ายๆ ภายใน 5 นาที
Admin DITTO2023-08-23T16:33:16+07:00
Digital Signature คืออะไร สรุปง่ายๆ ภายใน 5 นาที
January 31, 2023
ทุกวันนี้ การลงนามหรือเซ็นชื่อเพื่อเป็นการรับทราบหรือทำการอนุมัติเพื่อดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปโดย Digital Signature ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงนามที่เริ่มได้รับความนิยม เนื่องจากรูปแบบการทำงานยุคดิจิทัลที่ถูกปรับใช้ผ่านทางออนไลน์ ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้การเซ็นชื่อรูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า Digital Signature นี้คืออะไร และวิธีการใช้งานต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
Digital Signature ลายมือชื่อดิจิทัลคืออะไร?
Digital Signature คือ ลายเซ็นหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้การเข้ารหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีใบรับรอง (License) เพื่อยืนยันตัวตนเจ้าของ สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้ มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล โดยการลงนามผ่านระบบ Digital Signature สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้ลงนามและมีการแก้ไขข้อมูลหรือลายมือชื่อเอกสารหลังลงนามหรือไม่Digital Signature ประกอบไปด้วยดังนี้
Signer Authentication
เป็นความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนเซ็นเอกสารด้วย Digital Signature ซึ่งทำการเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่เซ็นเอกสารได้อย่างแม่นยำData Integrity
เป็นความสามารถในการตรวจสอบหรือพิสูจน์ลายเซ็นนั้นว่า ได้มีการแก้ไขเอกสารหลังจากที่มีการเซ็นไปแล้วหรือไม่ เพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยของการเซ็น Digital SignatureNon-repudiation
เมื่อเอกสารที่ผ่านการเซ็น Digital Signature และทำการส่งไปแล้ว มั่นใจได้ว่าเอกสารนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างการส่งDigital Signature ต่างจาก e-Signature...
read moreราชการ 4.0 ทำงานได้ไวขึ้น ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
Admin DITTO2023-01-31T12:35:58+07:00
ราชการ 4.0 ทำงานได้ไวขึ้น ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
January 31, 2023
เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นตัวแปรในการบริหารจัดการองค์กร ทางองค์กรเอกชนมากมายได้พัฒนาระบบจัดการเอกสารและระบบการทำงานให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้องค์กรที่เริ่มก่อนวิ่งได้ไกลกว่า โดดเด่นกว่า แต่ในขณะที่ทางหน่วยงานราชการเอง ก็เริ่มมีการปรับตัวจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หน่วยงานราชการหลายที่เริ่มปรับรูปแบบการทำงานให้อยู่ในแบบออนไลน์ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้รูปแบบหน่วยงานราชการแบบ 4.0 ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรที่ต่างไปจากเดิมบ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
รูปแบบการทำงานหน่วยงานราชการ 4.0 ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
1. ติดต่อหรือออกเอกสารหลักฐานโดยใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเตรียมตัวในการให้บริการประชาชนที่จะเข้ามาติดต่อราชการ ก็สามารถติดต่อผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที ไม่ว่าจะยื่นเรื่อง ดาวน์โหลดเอกสาร หรือหาข้อมูลทั่วไป อีกนัยหนึ่ง หน่วยงานราชการเองก็สามารถออกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน เพราะเอกสารและข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บอยู่ในระบบที่เปรียบเหมือนศูนย์กลางที่ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขั้นตอนติดต่อหรือออกเอกสารก็ไม่ยาก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี2. ไม่ต้องเสียเวลาไปทำสำเนาเอกสารเพิ่ม
หากผู้ใช้บริการนำสำเนาเอกสารหลักฐานต้นฉบับมาเรียบร้อย แต่เจ้าหน้าที่หน่วยงานต้องการสำเนาเอกสารเพิ่ม ทางเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำสำเนาเองโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพราะเมื่อก่อนเวลาที่เจ้าหน้าที่ต้องการสำเนาเอกสารเพิ่ม จะเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องวิ่งหาร้านถ่ายเอกสาร เพื่อถ่ายสำเนาทำเรื่อง แต่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ประชาชนไม่ต้องดำเนินการ เพราะทางหน่วยงานราชการจะต้องเป็นฝ่ายจัดการให้เอง3. สามารถทำลายลักษณ์อักษรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
ทุกเอกสารที่เราจำเป็นต้องลงลายลักษณ์อักษร หรือเซ็นชื่อกำกับเอกสาร ก็ไม่จำเป็นต้องเซ็นด้วยปากกา หรือลายมืออีกต่อไป เพราะ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ... read moreประยุกต์ 5 เทรนด์การทำงาน 2023 กับองค์กรภาครัฐ
Admin DITTO2023-08-09T15:49:27+07:00
ประยุกต์ 5 เทรนด์การทำงาน 2023 กับองค์กรภาครัฐ
January 31, 2023
เริ่มต้นปีใหม่ 2023 หลายคนคงมีแผนสำหรับพัฒนาตัวเองกันบ้างแล้ว องค์กรขนาดต่าง ๆ ก็มีการจัดวางแผนการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายไม่ต่างกัน หลายองค์กรเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ให้เป็นรูปแบบใหม่ เพื่อไล่ตามให้ทันเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และเทรนด์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ องค์กรภาครัฐเองก็สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้ากับเทรนด์การทำงานปี 2023 นี้ได้เช่นกัน ว่าแต่เทรนด์การทำงานของปีนี้เป็นอย่างไร เราเตรียมเทรนด์ให้คุณแล้วในบทความนี้
เทรนด์การทำงานปี 2023 ที่องค์กรภาครัฐสามารถปรับตัวได้
1. การทำงานผสมผสาน สร้างประสิทธิภาพ
จะไม่เอ่ยถึงเทรนด์การทำงานรูปแบบนี้เลยคงไม่ได้ โดยการทำงานรูปแบบออนไลน์ ที่คุณสามารถทำงานได้ทุกที่ ที่บ้านก็ได้ ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ สามารถประชุมแบบออนไลน์ มอบหมายงานแบบออนไลน์ และสามารถทำงานออกมาได้สำเร็จลุล่วง โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงออฟฟิศ ลดค่าใช้จ่ายของพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายขององค์กรด้วย แถมเทรนด์การทำงานแบบ ผสมผสานหรือHybrid ที่มีความยืนหยุ่นในการทำงาน หรือ Flexibility ยังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่พนักงาน โดยมีตัวเลขจาก LinkedIn กล่าวว่าการทำงานระยะไกลคิดเป็นสัดส่วน 20% ของตำแหน่งงานว่างในปัจจุบัน กลับได้รับความสนใจจากผู้สมัครงานมากถึง 50% นั้นหมายความว่า องค์กรที่ทำงานแบบ Hybrid มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นส่วนดึงดูดพนักงานให้เข้ามาสมัครมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างผ่อนคลาย ลดความเครียด และยังเป็นโอกาสที่ทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้นเทรนด์การทำงาน... read moreตอบข้อสงสัย ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร
Admin DITTO2023-01-31T11:29:14+07:00
ตอบข้อสงสัย ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร
January 30, 2023
ปัจจุบันเทคโนโลยีในประเทศไทย เริ่มพัฒนาและก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ การจองคิวออนไลน์ก่อนเข้าไปใช้บริการในร้านอาหาร รวมถึงหน่วยงานราชการ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสวัสดิการของรัฐบาลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพียงแค่ไม่กี่นาที แต่ทั้งนี้ ถ้ามองในมุมหน่วยงานราชการ ส่วนใหญ่จะรู้จักแค่ระบบที่ให้บริการแก่ประชาชนเท่านั้น ยังมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภายในหน่วยงานภาครัฐด้วย นั่นก็คือ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ที่หลายคนอาจคุ้นเคยกับชื่อ แต่ยังไม่ทราบว่าบริการนี้คืออะไร วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
ทำความรู้จัก ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร ?
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คือ ระบบที่เข้ามาช่วยจัดการด้านงานเอกสารสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ที่ช่วยจัดการงานบริการรับส่งหนังสือ จัดเก็บเอกสาร เกษียณหนังสือ รวมถึงลงนามในเอกสาร โดยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งไฟล์เอกสารเข้าระบบหนังสือเวียน ที่ต้องมีการลงนาม รับทราบผ่านลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารราชการในแต่ละระดับ พร้อมทั้งรองรับการปฏิบัติงานของผู้ใช้งานได้พร้อม ๆ กัน ช่วยเสริมให้ระบบงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่หน่วยงานราชการส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อแก้ปัญหา การจัดการงานเอกสารเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ส่วนงานราชการลดความซับซ้อนในการบริหารงานเอกสารด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนยิ่งขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ (Paperless) และประหยัดค่าใช้จ่ายในหน่วยงานราชการอีกด้วยข้อดีของการใช้ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ประหยัดเวลา
การมีระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์... read moreดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน Starbucks สาขาปั๊มน้ำมัน Shell ถ.บางนา-ตราด กม.6.5
Admin DITTO2023-03-20T11:00:03+07:00
ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน Starbucks สาขาปั๊มน้ำมัน Shell ถ.บางนา-ตราด กม.6.5
January 29, 2023
ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน Starbucks สาขาปั๊มน้ำมัน Shell ถ.บางนา-ตราด กม.6.5
ขอแสดงความยินดีกับสาขาใหม่ ที่ดิทโต้เป็นผู้วางระบบ ติดตั้ง และทำการอบรมการใช้งานให้กับพนักงานทั้งหมด แวะเข้าไปใช้บริการรับความอร่อยกันได้แล้วนะครับ https://goo.gl/maps/bTFBYz5ESeeg2QnN8 ขอบคุณความไว้วางใจที่ให้ดิทโต้ ติดตั้งและดูแลระบบ Drive-Thru ครับ สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 📞 0-2517-5555 https://dittothailand.com/contact-us/ Line ID: @dittothailand read moree-Signature คืออะไร ช่วยพัฒนาระบบหน่วยงานรัฐได้อย่างไรบ้าง?
Admin DITTO2024-12-18T11:40:23+07:00
e-Signature คืออะไร ช่วยพัฒนาระบบหน่วยงานรัฐได้อย่างไรบ้าง?
December 26, 2022
ปัจจุบันการทำธุรกรรมและเอกสารราชการต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนเอกสารที่เป็นกระดาษให้มาอยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และประหยัดเวลาในการดำเนินงาน แต่ยังช่วยเพิ่มความโปร่งใส ทำให้สามารถติดตามตรวจสอบได้ อำนวยความสะดวกให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า e-Signature คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบราชการอย่างไรบ้าง ในบทความนี้กัน
e-Signature คืออะไร
e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้เทคโนโลยีในการลงลายมือชื่อบนเอกสารออนไลน์ สามารถใช้ทดแทนลายเซ็นที่เป็นปากกาได้ อีกทั้งลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ยังได้ถูกรองรับตามกระบวนการกฎหมาย มาตรา 26 สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมได้ไม่ว่าจะเป็น การเงิน อสังหาริมทรัพย์ หรือทางด้านกฎหมาย และตอนนี้ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเข้าถึงบริการของราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากคุณยังไม่รู้จักหรือไม่รู้ว่าข้อดีของการมีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างไร แล้วหน่วยงานรัฐไหนใช้ e-Signature บ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้วDigital Signature คืออะไร
Digital Signature หรือลายเซ็นดิจิทัล คือ รูปแบบของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสแบบกุญแจคู่ (Public Key Infrastructure - PKI)... read moreส่องการพัฒนา e-Government ในต่างประเทศ ปฏิรูปการบริหารด้วยเทคโนโลยี
Admin DITTO2023-07-24T12:33:00+07:00
ส่องการพัฒนา e-Government ในต่างประเทศ ปฏิรูปการบริหารด้วยเทคโนโลยี
December 23, 2022
e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการจัดการและบริหารของภาครัฐในยุคใหม่ ที่มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการจัดการ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ พร้อมเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชนเข้าถึงทุกการบริการของภาครัฐได้อย่างง่ายดาย ซึ่งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ทุกประเทศจำเป็นต้องจัดตั้งให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ใช้งานก็ใช้ระบบได้อย่างคล่องแคล่ว ในส่วนของประเทศไทยเราเองก็กำลังก้าวเข้าสู่ประเทศรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังวางระบบ e-Government สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งการจะวางรากฐานให้สมบูรณ์ เราควรศึกษาระบบของต่างประเทศมาลองเป็นต้นแบบ เพื่อศึกษาการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับเราที่สุด
รวมประเทศที่ใช้ e-Government จัดการและบริหารภายในประเทศ
เดนมาร์ก
ประเทศเดนมาร์ก ถือเป็นประเทศแถบยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยของการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สูงสุด โดยประเทศเดนมาร์กมีการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล ที่เน้นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับระบบหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยเริ่มจากโครงการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะมากกว่า 100 รายการอย่างรวดเร็วและปลอดภัย ผ่านการใช้ Digital Key และ NemID แต่ก่อนเมื่อปี 2511 ประเทศเดนมาร์กให้ประชาชนลงทะเบียนในฐานข้อมูลกลาง หรือ Central Person Register (CPR) ก่อนผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงในปี 2544 ที่มีการสร้างลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานทุกแห่งที่ต้องใช้อีเมลในการทำงาน และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในช่วง 2554 ที่ให้ประชาชนเดนมาร์กมี Digital... read moreยกระดับภาครัฐกับการใช้ Big Data คลังข้อมูลขนาดใหญ่
Admin DITTO2023-07-21T18:08:53+07:00
ยกระดับภาครัฐกับการใช้ Big Data คลังข้อมูลขนาดใหญ่
December 23, 2022
ในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล การทำงานรูปแบบออฟไลน์แบบเดิม ๆ อาจทำให้การทำงานล่าช้าลง เมื่อเทียบกับการทำงานผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการประชุมทางไกล ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถประชุมได้ทุกที่ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลเอกสารจากรูปแบบกระดาษ ก็เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล หรือ ที่เราเรียกกันว่า Big Data ซึ่งในบริษัทเอกชนไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างเริ่มหยิบชุดข้อมูลที่มีในมือ มาวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การตลาดเป็นที่เรียบร้อย แต่ในส่วนของราชการอาจยังสงสัยว่า Big Data หน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้เราเลยเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับ Big Data ในหน่วยงานภาครัฐมาฝาก เพื่อให้คุณทำความเข้าใจได้มากขึ้น
Big Data คืออะไร?
Big Data คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมดภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลของบริษัท ข้อมูลการติดต่อลูกค้า ข้อมูลการติดต่อของผู้ร่วมธุรกิจ ข้อมูลลักษณะของผู้บริโภค การทำรายการธุรกิจต่าง ๆ ในแต่ละวัน ตัวอักษร ไฟล์เอกสาร รูปภาพ ทั้งหมดในองค์กร และข้อมูลอื่น ๆ ทุกประเภทที่อยู่บนโลกออนไลน์ และด้วยปริมาณของชุดข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมาก เราจำเป็นต้องมีระบบสำหรับประมวลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลมหาศาลได้ เพราะเราจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์... read moreรวม 5 ขั้นตอนการปรับใช้ Data Driven Mindset กับองค์กรภาครัฐที่ควรรู้
Admin DITTO2024-11-21T09:23:30+07:00
รวม 5 ขั้นตอนการปรับใช้ Data Driven Mindset กับองค์กรภาครัฐที่ควรรู้
December 23, 2022
Data Driven คือ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ เพราะทุกวันนี้ข้อมูล หรือ Data ถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำกลยุทธ์การตลาด และการพัฒนาทุกรูปแบบธุรกิจ รวมถึงการปรับใช้กับหน่วยงานภาครัฐ เพราะข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาวิเคราะห์และปรับใช้เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้บริการของเรามากที่สุด ทั้งนี้ สำหรับแนวคิด Data Driven ก็ได้จบเพียงเท่านี้ แต่ยังมีผู้ชำนาญการหลายคนคิดแผนต่อยอดนำไปสู่แนวคิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Data Driven ได้อีก หนึ่งในนั้นคือ แนวคิด Data Driven Mindset ที่มีแนวคิดอะไร แล้วสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานภาครัฐได้อย่างไร วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
ทำความรู้จัก Data Driven Mindset คืออะไร?
คือ หลักวิธีคิดและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่อาศัยการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่มีอยู่เป็นหลัก มากกว่าการใช้สัญชาตญาณและความรู้สึก เพื่อใช้สำหรับแก้ไขปัญหาหรือวางแผนธุรกิจ ซึ่งแนวคิดนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ และตระหนักถึงการใช้ข้อมูลอย่างเป็นประโยชน์ที่สุด โดยแนวคิดนี้มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรจากหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้1. ทำ Strategic Data-Driven...
read moreส่องความต่างการติดต่อราชการแบบเดิม กับ แบบใหม่ มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปอย่างไร
Admin DITTO2023-07-24T12:05:57+07:00
ส่องความต่างการติดต่อราชการแบบเดิม กับ แบบใหม่ มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปอย่างไร
November 29, 2022
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานต่างปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากปกติที่เป็นรูปแบบออฟไลน์ หรือการเดินทางไปจัดการธุระด้วยตัวเอง แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแย่ลง ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการ จากออฟไลน์ เป็นรูปแบบออนไลน์ ทำธุระหรือติดต่องานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือ หน่วยงานเอกชนเอง ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เท่าทันสถานการณ์ แม้ในปัจจุบันสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ และเฝ้าระวัง แต่รูปแบบการทำงานผ่านระบบออนไลน์ยังคงตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของประชาชนทุกคน ทำให้รัฐบาลเล็งเห็น จึงได้เตรียมประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้หน่วยงานราชการ ไม่ว่าจะเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐทุกหน่วย ให้ดำเนินงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่เราจะไปดูรูปแบบการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรามาเปรียบเทียบขั้นตอนการติดต่อราชการแบบเดิมและแบบใหม่กันดีกว่า
รูปแบบการติดต่อราชการแบบเดิม
1. ถือเอกสารไปติดต่อหน่วยงานราชการ
ในแบบเดิมการติดต่อทำเรื่องกับทางราชการ เราจำเป็นต้องพกเอกสารไปติดต่อขอดำเนินการ ซึ่งบางธุระจะต้องเตรียมเอกสารไปจำนวนมาก บางครั้งก็เกือบจะยกทั้งแฟ้มไปทำเรื่องก็ว่าได้ และถ้าเอกสารไม่ครบตามเงื่อนไข ก็ต้องมาใหม่ในวันรุ่งขึ้น และเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด2. ต้องยื่นเอกสารสำเนาทุกครั้ง
เวลาที่ต้องติดต่อราชการ และต้องยื่นข้อมูลบัตรประชาชน - ทะเบียนบ้าน ทางหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่น ๆ มักจะขอสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน... read moreทำความรู้จัก Digital ID คืออะไร? เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
Admin DITTO2023-08-09T12:57:31+07:00
ทำความรู้จัก Digital ID คืออะไร? เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
November 29, 2022
อินเทอร์เน็ต ดิจิทัล สมาร์ทโฟน สิ่งเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิตประจำวันของพวกเราไปแล้วอย่างไม่น่าสงสัย เพราะทุกวันนี้เพียงแค่เราพกสมาร์ทโฟน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เราก็สามารถทำธุรกรรมการเงิน รับข้อมูลข่าวสาร สามารถประชุมทางไกลได้ทุกที่ ติดต่อคนที่ต้องการได้ตลอดเวลา ยิ่งในยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ทำให้ชีวิตเราไม่สามารถขาดสิ่งเหล่านี้ไปได้เลย โดยประเทศไทยเองก็มีการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทางภาครัฐเองมีการเตรียมประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับเปลี่ยนหน่วยงานรัฐให้ทำงานผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และเทคโนโลยีโลก ซึ่งอีกหนึ่งปัจจัยในการปรับตัวเข้ายุคโลกดิจิทัลอย่าง Digital ID หรือ โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ทางรัฐบาลไทยกำลังดำเนินการ
Digital Identity หรือ Digital ID คืออะไร?
ปัจจุบัน Digital ID หลายประเทศได้ถูกคิดค้นและพัฒนาระบบเพื่อให้ประชาชนในประเทศได้ใช้งาน ซึ่งระบบการทำงานของแต่ละประเทศนั้นก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานของหน่วยงานรัฐในแต่ละประเทศ และความต้องการของประชาชน แต่ในส่วนของประเทศไทยนั้นระบุว่า Digital ID คือ “ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” เพราะฉะนั้น Digital Identity หรือ Digital ID คือ โครงสร้างสำคัญพื้นฐานของประเทศ... read moreDigital Transformation องค์กร ผ่าน 4 องค์ประกอบหลักธุรกิจ
Admin DITTO2023-08-22T12:40:59+07:00
Digital Transformation องค์กร ผ่าน 4 องค์ประกอบหลักธุรกิจ
November 29, 2022
การทำ Digital Transformation ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมล้ำสมัย ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพราะยังมีเรื่องของกลยุทธ์ เป้าหมาย และนโยบายภายในต่าง ๆ ที่ส่งผลให้การ Transformation ประสบความสำเร็จได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า องค์ประกอบในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไหน จะทำให้การ Transformation เกิดปัญหาน้อยที่สุด วันนี้ Ditto มีคำตอบมาฝากครับ