Digital Signature คืออะไร สรุปง่ายๆ ภายใน 5 นาที

  • January 31, 2023

News Description

Digital Signature คือ

 

ทุกวันนี้ การลงนามหรือเซ็นชื่อเพื่อเป็นการรับทราบหรือทำการอนุมัติเพื่อดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปโดย Digital Signature ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงนามที่เริ่มได้รับความนิยม เนื่องจากรูปแบบการทำงานยุคดิจิทัลที่ถูกปรับใช้ผ่านทางออนไลน์ ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้การเซ็นชื่อรูปแบบนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น แต่ก็เชื่อว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า Digital Signature นี้คืออะไร และวิธีการใช้งานต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว

 

Digital Signature ลายมือชื่อดิจิทัลคืออะไร?

 

Digital Signature คือ ลายเซ็นหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้การเข้ารหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีใบรับรอง (License) เพื่อยืนยันตัวตนเจ้าของ สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้ มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล โดยการลงนามผ่านระบบ Digital Signature สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้ลงนามและมีการแก้ไขข้อมูลหรือลายมือชื่อเอกสารหลังลงนามหรือไม่

 

Digital Signature ประกอบไปด้วยดังนี้

 

  • Signer Authentication

เป็นความสามารถในการพิสูจน์ว่าใครเป็นคนเซ็นเอกสารด้วย Digital Signature ซึ่งทำการเชื่อมโยงไปยังบุคคลที่เซ็นเอกสารได้อย่างแม่นยำ

 

  • Data Integrity

เป็นความสามารถในการตรวจสอบหรือพิสูจน์ลายเซ็นนั้นว่า ได้มีการแก้ไขเอกสารหลังจากที่มีการเซ็นไปแล้วหรือไม่ เพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยของการเซ็น Digital Signature

 

  • Non-repudiation

เมื่อเอกสารที่ผ่านการเซ็น Digital Signature และทำการส่งไปแล้ว มั่นใจได้ว่าเอกสารนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างการส่ง

 

 

Digital Signature ต่างจาก e-Signature อย่างไร?

e-Signature

e-Signature คือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งอักษร อักขระ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ โดยส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบอีเมล์ Username – Password หรือการกดปุ่มยอมรับ

 

Digital Signature

ส่วน Digital Signature คือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาจากการลายมือชื่อก่อนทำการเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้น เป็นรูปแบบการเซ็นชื่อที่สามารถตรวจสอบได้ว่าเซ็นเอกสารอะไร เวลาไหน ใครเป็นผู้เซ็น ได้จากไฟล์เอกสารนั้น ๆ และที่สำคัญคือยากต่อการปลอมแปลงด้วยการเข้ารหัสควบคู่กับการตรวจสอบจากใบรับรอง (License) เรียกได้ว่า Digital Signature มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือในระดับสูง

 

ระหว่าง Digital Signature กับ e-Signature มีความแตกต่างกันตรงที่รูปแบบการเข้ารหัสที่ต่างกัน รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยที่ต่างกัน ซึ่ง Digital Signature จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนากว่า สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนกว่าด้วยการยืนยันตัวตนของเจ้าของเซ็นเอกสารจากใบรับรอง (License) ป้องกันการปลอมแปลงได้ดี

 

แต่ทั้งนี้รูปแบบการเซ็นทั้ง Digital Signature และ e-Signature มีผลทางกฎหมายหรือไม่ สามารถใช้เซ็นในเอกสารทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชนได้หรือไม่ คำตอบคือ มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ เพราะฉะนั้นปัจจุบันเราสามารถเซ็นเอกสารไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Digital Signature, e-Signature และลายเซ็นบนกระดาษ ก็สามารถทำได้ หากแต่การเซ็นในรูปแบบ Digital Signature นิยมใช้ในเอกสารที่มีความสำคัญสูง เพื่อป้องกันการแอบอ้าง

 

 

ประโยชน์ของการใช้ Digital Signature

 

  • ลดค่าใช้จ่าย

เพราะการลงนามแบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนกระดาษ ต้นทุนเวลา ต้นทุนการพิมพ์เอกสาร ค่าจัดส่งและพื้นที่จัดเก็บเอกสาร

 

  • เพิ่มความสะดวกสบาย

ผู้ที่ใช้งาน Digital Signature สามารถสร้างและลงนามในเอกสารได้อย่างสะดวกสบายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อีกด้วย และยังสามารถทำงานได้ทั้งบนโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ทุกเวลา

 

  • มีความปลอดภัยมากกว่า

เพราะ Digital Signature มีระบบพิสูจน์ตัวตนและล็อกอุปกรณ์ในการเซ็นเอกสาร ทุกเอกสารจะต้องผ่านการลงนามด้วยรหัสด้วยเทคโนโลยี Public Key Infrastructure (PKI) สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของลายมือชื่อ และข้อความอิเล็กทรอนิกส์ได้จากใบรับรอง (License) ที่ออกให้โดยหน่วยงานที่ได้มาตรฐานได้

 

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ Digital Signature ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่จะช่วยให้การเซ็นชื่อในเอกสารได้แบบออนไลน์ และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงหน่วยงาน ทั้งนี้การใช้ Digital Signature เริ่มได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้หน่วยรัฐทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทาง Ditto ได้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดการเอกสาร อบต.​และ อบจ. อย่างต่อเนื่องมาโดยเฉพาะ เพื่อรองรับการใช้งานของหน่วยงาน รวมถึงฟังก์ชัน Digital Signature เพื่อให้เจ้าหน้าที่ราชการ และประชาชนใช้ง่ายได้ง่ายรวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand