พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?

  • September 2, 2022

News Description

พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

 

การจัดเก็บข้อมูลเอกสารข่าวสารต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดการกับเอกสารให้มีความพร้อมต่อการนําออกมาใช้งาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเอกสารจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในการจัดเก็บเอกสารให้มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เซ็นเอกสารที่ไหนก็ได้ อยู่ที่ไหนก็สามารถประชุมได้ เพราะโลกออนไลน์เชื่อมต่อทุกอย่างเอาไว้หมดแล้ว

 

และเมื่อไม่นานมานี้เอง พรบ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ถูกลงมติและลงรายละเอียด โดยพระราชบัญญัตินี้จะเข้ามาช่วยเสริมให้การทำงานออนไลน์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

 

พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ กฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อต้องการส่งเสริมให้รูปแบบการทำงานและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล โดยสอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชการ การขออนุมัติ การอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงิน และการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน รวมทั้งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพแก่การปฏิบัติราชการของภาครัฐในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และลดปัญหาการทุจริต ดังนั้นจึงทำให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นความสำคัญของรัฐบาลไทยที่จะก้าวไปสู่ยุครัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน

 

และเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติเห็นชอบร่าง พรบ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ทางคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเสียง ดังนี้

 

จำนวนผู้ลงมติ 387

เห็นชอบ : 384

ไม่เห็นชอบ : 0

งดออกเสียง : 1

ไม่ลงคะแนน : 2

 

ทั้งนี้ ร่าง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

 

การใช้ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลดีอย่างไร?

 

รัฐบาลดิจิทัล

 

1. เพิ่มขีดความสามารถในด้านดิจิทัลของประเทศ

โดยการนำเครื่องมือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตและการให้บริการ เพื่อลดปัญหาด้านการจัดเก็บการสูญหายของเอกสาร และการสืบค้นข้อมูลเอกสาร ซึ่งการออกพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หน่วยงานภาครัฐเข้าสู่ยุคราชการ 4.0 อย่างเต็มตัว ส่งผลให้รูปแบบการทำงานของราชการเปลี่ยนไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น

 

  • ติดต่อหรือออกเอกสารหลักฐาน โดยใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
  • ไม่ต้องเสียเวลาไปทำสำเนาเอกสารเพิ่ม
  • สามารถทำ Digital Signature ได้
  • แค่ยื่นบัตรประชาชนก็ทำเรื่องได้
  • เข้าถึงข้อมูลภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • เริ่มเข้าระบบตั้งแต่วันส่งคำขอ หมดกังวลเรื่องเอกสารตกหล่น

 

2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

สามารถติดต่อกับหน่วยงานของรัฐได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดภาระในด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน รวมถึงสามารถยื่นเอกสารผ่านวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ได้ ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยงานราชการมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่าจะมี พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ออกมาแล้วก็ตาม ก็ยังมีเอกสารราชการบางประเภท ที่ไม่สามารถทำเรื่องผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากความอ่อนไหวของข้อมูล เช่น เอกสารการจดทะเบียนอย่า, เอกสารการรับบุตรบุญธรรม, บัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือเดินทาง เป็นต้น

 

3. พัฒนาทักษะอาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรภาครัฐ

เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ในด้านของการทำงานและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

โดยมีการพัฒนารูปแบบการ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างการทำให้หน่วยงานรัฐสามารถติดต่อออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น กรมการขนส่งทางบก, กรมสรรพสามิต, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, สำนักงานประกันสังคม, กรมการท่องเที่ยว และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถติดต่องานผ่านออนไลน์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงสถานที่ราชการ

 

4. สร้างความปลอดภัยในข้อมูลเอกสาร

เนื่องจากเอกสารเป็นความสำคัญขององค์กร ระบบการจัดการกับเอกสารจึงมีรูปแบบการกําหนดสิทธิในการเข้าใช้ ควบคุมความปลอดภัย เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ไม่ประสงค์ดีในการเข้าถึงระบบฐานข้อมูล

 

5. ลดปริมาณการใช้กระดาษและแฟ้มเอกสาร

โดยการเปลี่ยนจากห้องเก็บเอกสารแบบออฟไลน์ให้มาอยู่ในระบบออนไลน์ ซึ่งนำไปสู่กระบวนการการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองของทรัพยากรได้ในอนาคต

 

ซึ่งผลดีของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ไม่เพียงแต่หน่วยงานรัฐเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ แต่ประชาชนอย่างเรา ๆ ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากการปฏิบัติงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์นี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการจะมีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและการบริการภาครัฐไปสู่ระบบจัดการเอกสารอย่างเต็มรูปแบบ

 

ระบบจัดการเอกสารเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร

 

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า หน่วยงานหลายแห่งยังคงยึดติดกับการจัดการเอกสารด้วยรูปแบบกระดาษ ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีได้นั้น เพราะกฎหมายในปัจจุบันหลายฉบับยังขาดการรับรองผลทางกฎหมายของการปฏิบัติราชการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีกฎระเบียบที่เขียนว่า ให้ยื่นเป็นหนังสือ หรือลงลายมือชื่อ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมีมติมอบหมายให้คณะกรรมการการพัฒนากฎหมาย จัดทำ ร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ขึ้น นั่นก็เพื่อต้องการแก้ไขการติดต่อระหว่างหน่วยงานราชการกับประชาชน หรือการดำเนินการด้วยเอกสาร หนังสือราชการ และสิ่งพิมพ์ในลักษณะที่เป็นสำเนา ที่ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่และกระทบต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานราชการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และเสียเวลาที่มากเกินสมควร

 

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกมานี้ ทำให้การติดต่อราชการเป็นเรื่องง่าย สามารถทำได้ผ่านอีเมลเพียงไม่มีกี่ขั้นตอน

ขั้นตอนการส่งอีเมลราชการ

 

1. ค้นหาช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของหนวยงานที่จะติดด่อ

โดยสามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น ๆ หรือฐานข้อมูลในเว็บไซต์ของ สพร. (DGA ที่รวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับดิจิทัลของหน่วยงานรัฐบาล

 

2. โหลดแบบฟอร์มคำขอ

ในกรณีที่ต้องใช้แบบฟอร์มของหน่วยงานราชการที่ติดต่อ ให้โหลดฟอร์มจากเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น หรือถ้าจะพิมพ์เอง ก็ต้องทำตามแบบฟอร์มที่ทางหน่วยงานราชการกำหนดขึ้น

 

3. ลงชื่อ นามสกุล ให้เรียบร้อย

เมื่อข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ระบุชื่อ นามสกุล เบอร์โทรติดต่อ หรือ ID LINE และอีกสิ่งที่สำคัญคือ ให้ระบุเลขบัตรประชาชน เพื่อให้หน่วยงานราชการติดต่อกลับมาหาคุณได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

4 . แนบไฟล์ PDF ที่จำเป็น

หากต้องการแนบไฟล์ แนะนำให้แนบไฟล์สกุล PDF เข้าไปในอีเมลเลย เพื่อให้หน่วยงานราชการพิจารณาประกอบกับคำขอ เมื่อข้อมูลทุกอย่างครบถ้วนเรียบร้อยก็กดส่งอีเมลหาหน่วยงานนั้นได้เลย

 

ดังนั้น การมี พ.ร.บ. นี้ ถือเป็นการยกกระดับขีดความสามารถให้หน่วยงานราชการสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ถึงเวลาแล้วที่ต้องบอกลาเอกสารกองโต เพื่อเปลี่ยนองค์กรรัฐเข้าสู่ระบบสำนักงานอัจฉริยะด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการเอกสารที่ผ่านการพัฒนาระบบและซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง โดยทีมพัฒนาโปรแกรมภายในองค์กรจาก Ditto ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ด้านงานเอกสารแบบครบวงจรมากกว่า 20 ปี พร้อมทีมงานมืออาชีพมากมาย ทำให้มั่นใจได้ว่าการเลือกใช้ระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ การเข้าถึงในการบริการ การค้นหาเอกสารได้รวดเร็ว เพียงแค่มีระบบจัดการเอกสารนี้ ก็สามารถช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างง่ายดาย ทันสมัย และเสริมภาพลักษณ์ให้หน่วยงานราชการได้เป็นอย่างดี

 

 

สอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand