อย่างที่ทราบกันว่า ทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเติบโตทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ “ข้อมูล” กลายเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรต่าง ๆ มีการเก็บข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อให้ได้มาสิ่งข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาต่อยอดทางธุรกิจ หนึ่งในวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ช่วยจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลและลดความซับซ้อนของข้อมูลคือ “การแจกแจงความถี่ข้อมูล” ซึ่งประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และการแจกแจงความถี่แบบเป็นอันตรภาคชั้น หากคุณกำลังสงสัยว่าวิธีนี้คืออะไร เรามีคำตอบ
การแจกแจงความความถี่ข้อมูล คืออะไร
ก่อนจะไปทำความรู้จักอันตรภาคชั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการแจกแจงความถี่คืออะไร
การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) คือ วิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่รวบรวมไว้ให้เป็นระเบียบ ข้อมูลอาจเป็นคะแนนของนักเรียน อุณหภูมิของเมืองต่าง ๆ คะแนนในการแข่งขันวอลเลย์บอล ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อมูลมากขึ้น ตลอดจนสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจหรือวางแผนต่อไป หลังจาก
การรวบรวมข้อมูล จึงมีการแสดงข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งเรียกว่าการแจกแจงความถี่นั่นเอง
การแจกแจงความถี่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น
การแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดไม่แตกต่างกันมากนัก หรือข้อมูลที่มีค่าของจำนวนที่แตกต่างกันไม่มากนัก การแจกแจงความถี่ในลักษณะนี้จะใช้ค่าสังเกตทุกค่าในการนำเสนอข้อมูล
2. การแจกแจงความถี่แบบอันตรภาคชั้น
การแจกแจงความถี่แบบอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันค่อนข้างมาก หรือในกรณีที่การแจกแจงความถี่โดยใช้ค่าสังเกตทุกค่าอาจไม่สะดวกนัก การจัดกลุ่มข้อมูลเป็นช่วงชั้นจะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีความกระชับและเข้าใจง่ายขึ้น โดยแบ่งช่วงของค่าที่เป็นไปได้ออกเป็นอันตรภาคชั้น (Interval) แล้วแจกแจงความถี่ของข้อมูลตามช่วงชั้นที่กำหนดไว้
การเลือกใช้วิธีการแจกแจงความถี่ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและความสะดวกในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและตีความหมายของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน การเลือกใช้การแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารข้อมูลทางสถิติมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อันตรภาคชั้น...
read more