นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคม

นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคม

     บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยลดผลกระทบเชิงลบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทได้ทำการพัฒนาธุรกิจให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสารที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมให้เป็นธุรกิจ Digital Transformation ซึ่งเป็นธุรกิจบริหารจัดการเอกสารและข้อมูลเป็นระบบดิจิทัลแบบครบวงจร เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานจากเดิมให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล ในรูปแบบออนไลน์ โดยการเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็น E-Document และทำงานคู่กับระบบจัดการเอกสาร DMS (Document Management System) ในการนำเข้าและจัดเก็บเอกสารองค์กรในรูปแบบ Digital ทำให้งานเอกสารเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น และช่วยสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ดังนี้

เศรษฐกิจ

  • การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดเก็บเอกสารองค์กรในรูปแบบ Digital ผ่านกระบวนการสร้างขั้นตอนการทำงานทางธุรกิจ (Workflow) บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบริหารจัดการองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสามารถจัดการการทำงานของเอกสารได้อย่างแม่นยำ
  • เพิ่มความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล ช่วยลดขั้นตอนการทำงานและลดต้นทุนด้านเอกสารขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สังคม

  • การพัฒนาระบบจัดการเอกสาร DMS ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเอกสารภายในองค์กรได้สะดวกสบายทำให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น
  • สร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล โดยระบบจัดการเอกสาร DMS เป็นรากฐานของการสร้างข้อมูลภายใน Application ที่อำนวยความสะดวกการเข้าถึงข้อมูลแก่ผู้คนในสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การเข้าถึงข้อมูลยังมีข้อจำกัด

สื่งแวดล้อม

  • ระบบจัดการเอกสาร DMS ช่วยลดการใช้กระดาษและการพิมพ์ซึ่งทำให้ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ และลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นจากการใช้กระดาษ
  •  ระบบจัดการเอกสาร DMS ช่วยลดการเดินทางของบุคลากรและการทำงานภายนอก ซึ่งส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานพาหนะ
  •  

สำหรับปี 2567 บริษัทได้มีการดำเนินโครงการที่สำคัญ 2 โครงการ ดังนี้

โครงการนำเข้าข้อมูลที่ดินเพื่อการจดทะเบียนออนไลน์ทั่วประเทศ

     บริษัทได้ร่วมกับบริษัท สามารถคอมเทค จำกัด และกรมที่ดินในการดำเนินการพัฒนาระบบในส่วนของการนำเข้าข้อมูลทะเบียนที่ดินที่จำเป็นสำหรับใช้ประกอบการสอบสวนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้กรมที่ดินสามารถดำเนินการขึ้นระบบ E-Land One Stop Service สำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ต่างสำนักงานแบบออนไลน์ได้ โดยมีระบบสารสนเทศที่ดินสำหรับให้บริการประชาชนเป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data) กับข้อมูลทะเบียน (Text Data) ให้เกิดความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลที่ดิน และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนในสำนักงานที่ดินได้อย่างถูกต้อง สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

     ผลประโยชน์ที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้รับจากนำนวัตกรรมของบริษัทไปใช้พัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลทะเบียนที่ดินเพื่อใช้ประกอบการสอบสวนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้กรมที่ดินสามารถดำเนินการขึ้นระบบ e-Land One Stop Service สำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ต่างสำนักงานแบบออนไลน์ได้ มีดังต่อไปนี้

บริษัท

  • บริษัทสามารถขยายงานด้านระบบจัดการเอกสารไปยังภาครัฐอื่นได้อีกจำนวน 3 ราย มูลค่าโครงการทั้งสิ้น 131.89 ล้านบาท

กรมที่ดิน

  • ให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแบบออนไลน์เพิ่มเติมในพื้นที่ 36 จังหวัด จำนวน 212 สำนักงานที่ดิน
  • นำเข้าชุดข้อมูลภาพลักษณ์เอกสารสิทธิและสารบบ (Image Data) ในรูปแบบดิจิทัลของสำนักงานที่ดินจำนวน 8,108,810 ทะเบียนที่ดิน (แปลง)
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนในสำนักงานที่ดิน ได้อย่างถูกต้อง สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

สังคม

  • การจ้างงานของคนในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น จากการเข้าไปดำเนินการโครงการในพื้นที่ทั้ง 36 จังหวัด
  • สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนแล้วเป็นจำนวน 11.15 ล้านบาท
  • ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดระยเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางในการทำธุรกรรม

โครงการจัดทำระบบเนรมิตพิพิธวัฒนธรรม (Cultural Metaverse)

     บริษัทและกรมศิลปากรได้ร่วมกันพัฒนาในการสร้างเกม “ศรีเทพ ผจญภัย” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกมรูปแบบใหม่ด้านมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยยุคทวารวดีในพื้นที่เมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกโลกแห่งที่ 4 ของประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ด้านมรดกวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์ Digital Content ที่นำมาถ่ายทอดผ่านเกม ทำให้ผู้เล่นสนุกกับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่เสมือนการเดินทางไปยังเมืองมรดกโลกศรีเทพอย่างใกล้ชิด ซึ่งผลประโยชน์ที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้รับจากการนำนวัตกรรมของบริษัทไปใช้พัฒนาแพลตฟอร์มเกมดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

บริษัท

  • เกิดนวัตกรรมใหม่จากการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแพลตฟอร์มเกม เป็นการต่อยอดทางธุรกิจในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • รายได้จากมูลค่างานของโครงการที่ 87.70 ล้านบาท

กรมศิลปากร

  • ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลมรดกวัฒนธรรมได้ง่ายขึ้น 
  • เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของไทย ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตที่เน้นการใช้เทคโนโลยี

สังคม

  • สร้างการเข้าถึงและการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัลที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน
  • เกิดการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกับผู้เล่นเกมอื่นๆ แบ่งปันประสบการณ์และเรียนรู้ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพกับคนในทุกมุมโลกได้
  • สร้างคุณค่าให้มรดกวัฒนธรรมของไทยและผลักดัน Soft Power ของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยว