การรับเรื่องร้องเรียนเรื่อง การฉ้อโกงหรือการคอร์รัปชั่น



การรับเรื่องร้องเรียนเรื่อง การฉ้อโกง หรือการคอร์รัปชั่น
(WHISTLE BLOWER)


1. วัตถุประสงค์


…………เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปโดยยุติธรรม ถูกต้อง มีความโปร่งใส ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยสอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณารับเรื่องร้องเรียนจากที่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในเรื่องหรือข้อสงสัยว่าหน่วยงานและพนักงานของบริษัทได้กระทำการที่ไม่ถูกต้อง อันอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท รวมถึงการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนที่ได้ร้องเรียนมาด้วยความสุจริต


2. บุคคลที่สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน และขอบเขตในการรับเรื่องร้องเรียน


…………ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ บริษัทหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือให้ข้อมูลกับทางบริษัทได้ เมื่อพบเห็นหรือทราบ หรือมีข้อสงสัย หรือเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่า หน่วยงาน หรือพนักงานของบริษัท มีการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายระเบียบปฏิบัติ อันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท โดยสงวนสิทธิในการพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้


3. มาตรการคุ้มครอง และรักษาความลับของผู้ร้องเรียน


…………เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียน และผู้ให้ข้อมูลที่กระทำโดยเจตนาสุจริต บริษัทจะปกปิดชื่อ ที่อยู่ รวมถึงข้อมูลใด ๆ ที่สามารถทำการระบุตัวผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ข้อมูลได้ โดยทำการเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียน และผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ โดยจำกัดเฉพาะผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ผู้ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียน มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียน และเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูล รวมถึงเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด


4. การดำเนินการเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน


…………คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ได้รับ และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับการร้องเรียน หรืออาจมอบหมายให้ คณะกรรมการพิจารณาการแจ้งเบาะแสการประพฤติผิด หรือทุจริตเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะติดตามผลความคืบหน้าเป็นระยะ จนกว่าการพิจารณาข้อร้องเรียนนั้นจะสิ้นสุด


5. ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน


ผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน พร้อมชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ส่งมาให้กับทางคณะกรรมการตรวจสอบได้ 3 ช่องทาง คือ


ช่องทางที่ 1 จดหมายผ่านทางไปรษณีย์


…………ผู้ร้องเรียนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านทางไปรษณีย์ โดยจ่าหน้าซองถึง
…………ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (คุณวุฒิ มีช่วย) หรือ
…………กรรมการตรวจสอบ (คุณทวี มีเงิน) หรือ
…………กรรมการตรวจสอบ (ดร.อภิวัตน์ พลสยม) หรือ
…………กรรมการตรวจสอบ (คุณณรงค์ เดชาธนารุจิกร)
…………เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ


และส่งมาได้ที่


บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
เลขที่ 235/1-3 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240


ช่องทางที่ 2


…………ตู้รับข้อร้องเรียนภายในบริษัท


ช่องทางที่ 3


…………จดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
…………ถึงคณะกรรมการตรวจสอบ : auditcommittee