ทำความรู้จักการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection คืออะไร

  • May 25, 2023

News Description

data collection คือ

 

ในปัจจุบันเทรนด์เกี่ยวกับข้อมูลหรือ Data ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะ Data เหล่านี้ให้ข้อมูลที่มากกว่าตัวเลข เพราะสามารถบ่งบอกพฤติกรรมของผู้ใช้บริการของเรา สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาคาดการณ์อนาคต เสริมกลยุทธ์การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่หน่วยงานภาคเอกชนเท่านั้น ที่หยิบข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์ในการทำงาน ทางฝั่งของหน่วยงานภาครัฐเองก็เล็งเห็นความสำคัญ และเริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection ในหน่วยงานรัฐมาวิเคราะห์และปรับมาใช้งานในภายภาคหน้าเช่นกัน เพราะฉะนั้นวันนี้ Ditto จะขอนำเสนอความหมายเกี่ยวกับ Data Collection หรือ การเก็บรวบรวมข้อมูลมาให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection คืออะไร

Data Collection คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ประมวลผล หรือจัดเก็บเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การเก็บข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง การสำรวจแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือการเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานต่อไป ซึ่งข้อมูลมีด้วยกัน 2 ประเภท

 

1. Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ)

ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลออกมาในเชิงตัวเลข (Numerical data) เพื่อแสดงปริมาณของสิ่งที่นับหรือสิ่งที่วัดได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • ข้อมูลปริมาณแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) เป็นข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่องกันในช่วงที่กำหนด เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง
  • ข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) เป็นข้อมูลจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ จำนวนนักศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว

2. Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ)

ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยตัวเลขว่ามากหรือน้อย แต่จะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ ทัศนคติ หรือคุณสมบัติ มักจะอยู่ในรูปแบบของคำพูด การบรรยาย การอธิบาย ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น สี สถานที่ที่ชอบไป เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ศาสนา กลุ่มเลือด

 

ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection มีอะไรบ้าง

 

1. แบบสอบถาม

เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามจะได้รับชุดคำถามที่มีทั้งแบบปิดและแบบเปิด แบบสอบถามสามารถออกแบบได้ทั้งในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด อีกทั้งการสอบถามได้ด้วยชุดคำถามเดียวกันสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถสอบถามได้หลาย ๆ คนในครั้งเดียวกัน

 

2. การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ โดยมีเครื่องมือในการวิจัยหลายแบบ เช่น การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถอ่านความรู้สึกและสังเกตสภาพการณ์ต่าง ๆ จากผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ และยังสามารถเจาะลึกเนื้อหาเฉพาะเรื่องที่สนใจได้ดี ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ผู้สัมภาษณ์เองต้องมีทักษะสูงในการหาคำตอบและการใช้เวลานานเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการ

 

3. การสนทนากลุ่ม

เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) แบบสัมภาษณ์ที่มีการนำกลุ่มคนมาอภิปรายกันในหัวข้อที่ต้องการ ซึ่งมักจะประกอบด้วยผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ที่จำกัดจำนวนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 6 – 10 คน และมักจะมีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมเพื่อบันทึกความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ในระหว่างการอภิปรายกัน เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้เป็นรายละเอียด และช่วยในการวิจัยในด้านต่าง ๆ อย่างได้ผลอย่างมาก

 

4. การสังเกตการณ์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสังเกตการณ์โดยตรง (Direct Observation) เป็นวิธีที่สะดวกและเร็วที่สุดในการเก็บข้อมูล โดยไม่มีการแสวงหาข้อมูลจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีนี้ในการสังเกตคน สัตว์ สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อมได้ แต่ควรใช้กับสถานการณ์ขนาดเล็กเท่านั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้

 

5. การวิจัยเชิงทดลอง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้ เน้นการค้นหาความจริง และประเมินผลการเป็นผลต่อตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่สามารถมีผลต่อตัวแปรตามได้ แต่ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองจะไม่ต้องควบคุม

 

6. การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

มีลักษณะที่แตกต่างจากการเก็บข้อมูลแบบ Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) แต่ต้องเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แต่จะเป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น รายงานการเงินของบริษัท รายงานการขายของฝ่ายขาย ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ และข้อมูลติดต่อ รายงานการวิจัยที่มีผู้วิจัยไว้แล้ว รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และรายงานสำรวจของรัฐบาล เช่น สำมะโนครัว ภาษี ข้อมูลประกันสังคม และข้อมูลบัญชีประชาชาติ โดยไม่ต้องมีการเข้าถึงหรือเก็บข้อมูลโดยตรงเอง

 

และนี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection ซึ่งการรวบรวมข้อมูลส่วนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพขององค์กร ของบริษัท ของหน่วยงานราชการได้เช่นกัน ซึ่งทาง Ditto ได้พัฒนาระบบจัดการเอกสารสำหรับ อบต.​ และ อบจ. ที่สามารถเก็บเอกสารและข้อมูลของหน่วยงานราชการในระบบดิจิทัล อีกทั้งยังช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลให้ง่ายต่อการจัดเก็บและค้นหา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการบริการประชาชน รวมถึงนำมาพัฒนาหน่วยงานราชการให้ดียิ่งขึ้น

 

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand


This will close in 20 seconds