News

อ่านต่อ

จัดการ Invoice Processing ให้ได้เงินไว ไม่ต้องนั่งทวง

November 6, 2022

  Ditto เชื่อว่าปัญหาการชำระเงินล่าช้า เป็นปัญหาน่าปวดหัว ที่ทุกธุรกิจมักต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจคิดว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากฝั่งลูกค้าเพียงฝ่ายเดียว แต่เชื่อหรือไม่ว่าในบางกรณี สาเหตุของการชำระเงินล่าช้าก็อาจมาจาก “Invoice Processing” หรือขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้ของธุรกิจคุณก็เป็นได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากจะมาแชร์เคล็ดลับการออกใบแจ้งนี้ ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้กันครับ ว่าต้องทำอย่างไรลูกค้าถึงจะชำระเงินไวที่สุด โดยที่เราไม่ต้องมานั่งทวงให้เสียเวลา  

1. ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน กระชับ และได้ใจความ

ทุกครั้งที่ออกใบแจ้งหนี้ ตัวธุรกิจต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่บนเอกสารนั้นถูกต้อง ครบถ้วน และตรงประเด็น เงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ควรแจ้งต้องถูกระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะจำนวนเงินที่ต้องชำระ และวันเวลาที่ครบกำหนดต้องห้ามผิดพลาดเป็นอันขาด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัวธุรกิจต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากข้อมูลบนใบแจ้งหนี้คลาดเคลื่อนจนเกิดความเข้าใจผิด การชำระเงินของลูกค้าก็จะมีปัญหาติดขัดขึ้นมาทันที นอกจากธุรกิจคุณจะได้รับเงินล่าช้าไปกว่าเดิมแล้ว ตัวองค์กรอาจต้องเสียความน่าเชื่อถือไปอีกด้วย    

คำแนะนำ : เคล็ดลับการออกใบแจ้งหนี้ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย

  ไม่ใช้คำซับซ้อน พยายามตรงประเด็นเข้าไว้ พยายามหลีกเลี่ยงคำหรือประโยคที่ซับซ้อนเข้าใจยากบนใบแจ้งหนี้ เราต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่อ่านเข้าใจได้อย่างทันทีเพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวเลขชัดเจน ใช้คำย่อวันเวลาให้ถูกต้อง ตัวเลขบนใบแจ้งหนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ  เราควรตรวจเช็คจุดทศนิยมและลูกน้ำทุกครั้งที่ออกเอกสาร รวมถึงวันและเวลา ที่ตัวองค์กรใช้ควรเป็นวันที่แบบสากลเข้าใจได้ในทันที สร้างตารางหรือวางเลย์เอาท์เอกสารให้เข้าใจง่าย การสร้างตารางหรือวางเลย์เอาท์ของเอกสารใบแจ้งหนี้ควรออกแบบให้ดี อย่าพยายามวางช่องหรือตีตารางที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น เพราะเวลาลูกค้าอ่าน อาจเกิดความสับสนเข้าใจผิด... read more

Porto Placeholder อ่านต่อ

ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน KFC Drive-Thru สาขาวุฒากาศ

November 3, 2022

ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน KFC Drive-Thru สาขาวุฒากาศ

ขอแสดงความยินดีกับสาขาใหม่ ที่ดิทโต้เป็นผู้วางระบบ ติดตั้ง และทำการอบรมการใช้งานให้กับพนักงานทั้งหมด แวะเข้าไปใช้บริการรับความอร่อยกันได้แล้วนะครับ พิกัด  https://goo.gl/maps/8KzUcAxD5QH6T9Wo9 ขอบคุณความไว้วางใจที่ให้ดิทโต้ ติดตั้งและดูแลระบบ Drive-Thru ครับ สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 📞  0-2517-5555 https://dittothailand.com/contact-us/ Line ID: @dittothailand read more

อ่านต่อ

4 วิธีรับมือ Digital Disruption ปรับองค์กรให้ก้าวทันโลก

October 31, 2022

  ในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งตัวธุรกิจหรือองค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน ก็อาจจะต้องเผชิญเข้ากับวิกฤติ Digital Disruption อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นวันนี้ Ditto จึงอยากจะแชร์แนวทางการรับมือ Digital Disruption ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้กันครับ ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ตัวธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป  

วิธีรับมือกับ Digital Disruption

1. ทยอยปรับเปลี่ยน “วิธีคิด” และ “วัฒนธรรมองค์กร”

  การปรับทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะในช่วงเวลาที่โลกแห่งเทคโนโลยีกำลังพัฒนาเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ขึ้น จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องประสบปัญหา Digital Disruption ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติให้เหมาะสมกับยุคสมัยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด    แต่ถึงกระนั้นการทำธุรกิจก็มีปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่ส่งผลให้การปรับตัวไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด หลายธุรกิจรู้ตัวล่วงหน้าก่อนด้วยซ้ำว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนต้องเผชิญกับเข้าวิกฤติ Digital Disruption ไปเต็ม ๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น การเตรียมพร้อมด้วยการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความยืดหยุ่นและทันสมัยอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้การปรับตัวจะไม่สามารถทำได้ในทันที แต่การทยอยทำไปทีละส่วน ปรับเปลี่ยนแก้ไขกันไปทีละนิด ก็จะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านปัญหาไปได้แม้จะต้องใช้เวลาก็ตาม คลิกเพื่ออ่านบทความการปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วย Digitization ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ... read more

paperless concept อ่านต่อ

Paperless แนวคิดที่จะช่วยจัดการปัญหาในหน่วยงานราชการ อบต. และ อบจ.

October 28, 2022

  Paperless คือ แนวคิดประหยัดการใช้กระดาษ ด้วยวิธีลดการใช้งานเอกสารรูปแบบกระดาษ หรือใช้วัสดุสิ่งของที่ทำจากกระดาษให้น้อยที่สุด ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการช่วยประหยัดพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นระบบ Digital มากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคม Digital Transformation ต่อไป   ยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายองค์กรทั่วโลกต่างหันมาใช้ระบบ Digital ในการทำงานแทนการทำงานแบบเดิมที่ใช้เอกสารกระดาษไปบ้างแล้ว ซึ่งทางหน่วยงานราชการไทยเองก็ปรับตัวมาใช้ระบบ Digital และเห็นความสำคัญของแนวคิด Paperless ไม่แพ้นานาชาติ โดยอีกไม่นานทางภาครัฐจะประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้หน่วยงานราชการสามารถปฏิบัติการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงหน่วยงาน อบต. และ อบจ. เองก็สามารถทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน โดยอาศัยแนวคิด Paperless เข้ามาช่วยจัดการปัญหาเอกสารต่างๆ ในหน่วยงานราชการ เพื่อปรับเปลี่ยนการบริการของภาครัฐให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ  

ปัญหาด้านการบริหารจัดการระบบเอกสารในหน่วยงานราชการ

 

1. หาเอกสารไม่เจอ เพราะจำนวนเอกสารเยอะ

โดยปกติแล้วเอกสารทางราชการนั้นมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือภายใน หนังสือภายนอก หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือรับรอง และหนังสือประเภทอื่น ๆ รวมถึงจำนวนเอกสารในแต่ละปีที่ทางหน่วยงานราชการออก ก็มีจำนวนนับไม่ถ้วน หากจำเป็นต้องค้นหาเอกสารสำคัญที่ย้อนหลังไป... read more

digital government อ่านต่อ

รัฐบาลดิจิทัลคืออะไร สำคัญกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรบ้าง?

October 28, 2022

  ร่างพ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็น พ.ร.บ. เรื่องเทคโนโลยี ที่ทางภาครัฐเพิ่งลงมติเห็นชอบ ให้หน่วยงานราชการสามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการให้ทันสมัย และเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการติดต่อทางออนไลน์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เรียกว่า “รัฐบาลดิจิทัล” หรือ “Digital government” ที่ทั่วโลกต่างกำลังปรับใช้กัน ว่าแต่ รัฐบาลดิจิทัล คืออะไร แล้วความสำคัญของรัฐบาลดิจิทัลเป็นอย่างไร วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว  

เสริมความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี กับ รัฐบาลดิจิทัล

รัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital government คือ การที่หน่วยงานภาครัฐนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในหน่วยงาน เพิ่มศักยภาพการทำงานขององค์กรรัฐให้รวดเร็ว ก้าวทันตามเทคโนโลยีขององค์กรเอกชนได้อย่างเทียบเท่า รวมถึงยังมีระบบการเชื่อมโยงการเข้าถึงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ลักษณะรัฐบาลดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบดังนี้  

1. Reintegration 

เป็นรูปแบบของการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในภาครัฐ เชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสร้างศูนย์ข้อมูล และยังง่ายต่อการควบคุมและการจัดการของหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   

2. Needs-based holism 

เป็นรูปแบบการปรับปรุงองค์กรภาครัฐ... read more

open government data อ่านต่อ

ข้อมูลเปิดภาครัฐคืออะไร? ทำไมถึงเป็นข้อมูลสำคัญที่คนไทยต้องรู้

October 27, 2022

  เมื่อไม่นานนี้ มีการประกาศรับร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อีกไม่นานเกินรอจะมีการประกาศใช้ว่าด้วยกฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการทำงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อหน่วยงานราชการ ก็สามารถติดต่อผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว   แต่ทั้งนี้ กฎหมายที่กำลังจะถูกประกาศใช้ฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับแรกที่มีการประกาศให้หน่วยงานภาครัฐ หันมาใช้ระบบออนไลน์ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เรามี พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ที่มีจุดประสงค์ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของข้าราชการได้อย่างครบถ้วน และสามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ พ.ร.บ. นี้จึงได้ชื่อว่าเป็นข้อมูลเปิดภาครัฐนั่นเอง  

ทำความรู้จัก "ข้อมูลเปิดภาครัฐ" 

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมาย ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ข้อมูลเปิดภาครัฐยังผ่านกระบวนการจัดลำดับความลับของข้อมูลว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน หรือดัดแปลงได้ตามความต้องการแต่ละบุคคล และทาง พ.ร.บ. ยังกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ใน เว็บไซต์... read more

หน่วยงานรัฐที่ติตด่อออนไลน์ได้ อ่านต่อ

ส่อง 7 หน่วยงานรัฐ ที่ติดต่อราชการออนไลน์ได้

October 27, 2022

  ปัจจุบัน ดิจิทัลออนไลน์นับเป็นปัจจัยที่ 5 ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานรัฐตื่นตัว หันมาใช้ระบบออนไลน์ในการจัดการการทำงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการทำงานในรูปแบบออนไลน์ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน่วยงานรัฐ และสถานที่ราชการหลายแห่งเร่งแผนพัฒนาการให้บริการแบบดิจิทัล เพื่อรองรับการใช้งานระบบจัดการเอกสารออนไลน์ในการติดต่อ ทำเรื่องด้วยเอกสารออนไลน์ได้    ตอนนี้เรามาอัปเดตหน่วยงานราชการกันดีกว่า ว่าตอนนี้มีหน่วยงานไหนบ้างที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้ ไม่ต้องเดินทางไปถึงสถานที่ราชการให้เสียทั้งค่าเดินทาง และเสียทั้งเวลา  

หน่วยงานรัฐไหนบ้าง? ที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้

1. กรมการขนส่งทางบก

เริ่มกันด้วยที่กรมการขนส่งทางบก ที่เรียกว่าเหล่าคนขับขี่รถทั้งหลายที่ต้องไปสอบใบขับขี่จะรู้จักกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด 19 กรมการขนส่งทางบกได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานใหม่ สามารถติดต่อขอเอกสารออนไลน์เพื่อทำการสอบใบขับขี่รวมถึงการอบรมความรู้ด้านการจราจร ซึ่งเอกสารที่สามารถติดต่อออนไลน์จากกรมการขนส่งทางบกได้ มีดังนี้   จองคิวทำใบขับขี่ เสียภาษีรถยนต์ ขอเลขทะเบียนรถ ทั้งนี้การติดต่อเอกสารกับทางกรมการขนส่งทางบก อาจจะไม่ได้เป็นเอกสารที่เป็นกระดาษ แต่จะเป็นรูปแบบ e-Service ที่พร้อมให้บริการแบบออนไลน์ ทำให้ขั้นตอนการติดต่อต่าง ๆ สะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก  

2. กรมสรรพสามิต

เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ โดยทุกวันนี้เราสามารถติดต่อทางออนไลน์กับทางกรมสรรพสามิตในบริการหลักอย่าง การยื่นภาษีออนไลน์ ได้แล้ว แต่ทั้งนี้กรมสรรพสามิตยังมีบริการอื่น ๆ... read more

อ่านต่อ

ไข 4 ข้อสงสัยที่องค์กรไม่เข้าใจ ทำไมต้องใช้ e-Document

October 26, 2022

  เชื่อว่าในสังคมเรามีผู้คนมากมายที่พยายามผลักดันตนเองให้ทันสมัยไปพร้อม ๆ กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล หลายองค์กรจึงเริ่มหันมาพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของบุคลากร ที่เป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปข้างหน้า ซึ่งหนึ่งในแนวทางพัฒนา คือการปรับตามหลักมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 ที่ระบุว่า ทุกการดำเนินงานภายในองค์กรต้องสามารถควบคุมและตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้นการที่องค์กรจะเป็นที่ยอมรับจากสังคมตามหลักสากล ย่อมต้องมีมาตรฐานเหล่านี้เข้ามาเป็นหลักประกันความน่าเชื่อถือให้แก่บุคคลภายนอก   ซึ่งเริ่มต้นได้จากคุณภาพกระบวนการของงานเอกสารตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำ จัดเก็บ เข้าถึง ค้นหา แจกจ่าย ตลอดจนการทิ้งหรือทำลายเอกสาร ที่องค์กรควรมีการควบคุมให้เป็นไปตาม Flow ที่วางไว้ และสามารถตรวจสอบได้ในทุกกรณี ซึ่งปัจจุบันมีหลายองค์กรเลือกใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Document เข้ามาทดแทนเอกสารกระดาษมากขึ้น เนื่องจากประโยชน์ที่โดดเด่นของ e-Document ช่วยลดเวลาทำงานของบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพงานเอกสารขององค์กรให้ดีขึ้นได้ ที่สำคัญการใช้ควบคู่กับ ระบบจัดการเอกสาร Document Management System: DMS เพื่อจัดระเบียบเอกสารให้ดำเนินไปตามกระบวนการเฉพาะของแต่ละองค์กร นั้นตรงกับเงื่อนไขจากมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพข้างต้น    แต่เนื่องจาก e-Document ยังถือเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับบางองค์กร จึงทำให้มีข้อสงสัยและความกังวลที่บางท่านยังไม่มั่นใจในเครื่องมือการทำงานชนิดนี้ วันนี้ Ditto จะมาตอบ 4... read more

อ่านต่อ

5 แนวคิดการทำงานปี 2022 ที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้

October 17, 2022

  จากบทวิเคราะห์ของ Harvard Business Review พบว่าในปี 2022 มีหลายเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทในองค์กรทั่วโลก โดยระบุว่าเราจะยังคงอยู่กับการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid work) ระหว่าง Offline และ Online แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรเกิดความผันผวนมากขึ้น ทั้งสถานที่ทำงาน, จำนวนคน, อุปกรณ์การทำงาน, ระยะเวลา รวมถึงกระบวนการทำงานก็ควรปรับให้เข้ากับโลกที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยี วันนี้ Ditto ขอสรุปเป็น 5 แนวคิดหลักที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการทำงานขององค์กรปี 2022 นี้แน่นอน   

5 แนวคิดการทำงาน ปี 2022

1. ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถของบุคลากรคือสิ่งสำคัญที่สุด 

  การสร้างทักษะใหม่หรือพัฒนาทักษะเดิม ที่พนักงานมีความเคยชินจนสามารถทำได้อย่างถนัดอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีกระดับ จะช่วยให้ผลลัพธ์ของงานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรควรหาโอกาสที่จะให้ความรู้และสนับสนุนบุคลากรอย่างเต็มที่ในด้านนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์มีโครงการพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อช่วยให้บุคลากรระดับกลางได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน ตั้งแต่ทักษะสำคัญ เช่น วิธีการแก้ปัญหา การศึกษาข้อมูลเชิงลึกแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาองค์กร รวมไปถึง Soft Skill อย่างทักษะการประสานงาน การสื่อสาร... read more

ปัญหาซ้ำซาก ถ้าหากยังใช้ Invoice Processing แบบเดิม ๆ อ่านต่อ

เคลียร์กันตรงนี้! ใบแจ้งหนี้ กับ ใบวางบิล แตกต่างกันอย่างไร?

October 8, 2022

  คำถามที่หลายคนมักจะสงสัย ว่าระหว่าง ใบแจ้งหนี้ กับ ใบวางบิล เอกสารทั้ง 2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร เพราะถ้าแปลจากภาษาอังกฤษแล้ว ความหมายไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างมากนัก แถมยังทำให้คนสับสนเพิ่มขึ้นไปอีกต่างหาก ดังนั้นวันนี้ Ditto จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน ว่าเอกสารสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร    

แจ้งหนี้ กับ ใบวางบิลต่างกันที่ ช่วงเวลาในการออกเอกสาร

ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เป็นเอกสารการค้าที่ธุรกิจออกให้แก่ลูกค้า โดยจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ มูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการ รวมถึงข้อมูลติดต่อของฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นต้น   ส่วนรายละเอียดของ ใบวางบิล (Billing Note) แทบไม่ต่างจากใบแจ้งหนี้ เพราะต้องมีรายละเอียดของสินค้า/บริการ ราคาของสินค้า/บริการ และข้อมูลติดต่อของทั้ง 2 ฝ่ายเช่นเดียวกัน แต่ความเหมือนในความต่างนี้คือ “ช่วงเวลาในการออกเอกสาร” ต่างหาก เพราะ   “ใบแจ้งหนี้ ออกเพื่อแจ้งค่าสินค้า/บริการ ว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ ภายในระยะเวลากำหนดกี่วัน เป็นเหมือนสรุปรายการซื้อขายทั้งหมด ซึ่งจะออกให้หลังจากขายสินค้า หรือให้บริการแล้วเรียบร้อย”   ในขณะที่ “ใบวางบิล” ออกเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระเงิน เป็นเหมือนการแจ้งยอดที่ลูกค้าต้องชำระในงวดนั้น ๆ    

เช็กทุกครั้งก่อนออกใบแจ้งหนี้ และใบวางบิล

บางธุรกิจอาจใช้แค่เอกสารเดียว คือ... read more