บทความ

สรุปง่าย ๆ ข้อควรรู้กฎหมาย PDPA คืออะไร อ่านต่อ

สรุปง่าย ๆ ข้อควรรู้กฎหมาย PDPA คืออะไร?

November 28, 2022

  เมื่อ Data Marketing กลายเป็นกลยุทธ์หลักเพื่อใช้ในการตีตลาดของทุกบริษัท ข้อมูลของลูกค้ากลายเป็นสิ่งสำคัญ ที่สามารถระบุทิศทางของอนาคตบริษัทได้ ทำให้เกิดปัญหาในกรณีที่บางบริษัทได้นำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปใช้หาผลประโยชน์ เปิดเผยต่อที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งนำข้อมูลของเราไปขายต่อกับบริษัทอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ยินยอมให้ทางบริษัทนั้นเข้ามาเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในวาระอื่น ๆ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่หลายธุรกิจในสมัยก่อนนิยมทำกันและทำการเอาผิดได้ยาก แต่ในปัจจุบันได้มีกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นั่นก็คือ Personal Data Protection Act หรือ PDPA เข้ามาเพื่อช่วยควบคุมและป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว  

Personal Data Protection Act หรือ PDPA คืออะไร 

กฎหมาย Personal Data Protection Act หรือ PDPA เป็น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ​2562 เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การควบคุมไม่ให้องค์กรนำข้อมูลของเราไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม เช่น เปิดเผยข้อมูลของเราในที่สาธารณะ หรือนำข้อมูลของเราไปขายให้กับบริษัทอื่น เช่น... read more

Government-e-Services อ่านต่อ

Government e-Services คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับคนไทยในยุคนี้

November 28, 2022

  การประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้หลายหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคอื่น ๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยเฉพาะการติดต่อราชการทางด้านเอกสาร จากแต่เดิมที่ต้องติดต่อด้วยเอกสารแบบกระดาษ ต้องเปลี่ยนมาเป็นเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องปรับกระบวนการทำงานให้ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า Government e-Services มากขึ้น แต่ด้วยการที่เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ วันนี้เราเลยจะมาอธิบายเรื่อง Government e-Services กัน  

Government e-Services คือ

การที่หน่วยงานภาครัฐทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่มีชื่อเรียกสากลว่า Government e-Services คือ การจัดการบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานราชการ ที่ให้บริการกับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับประชาชนในการติดต่อและขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้การประกาศ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญมากของหน่วยงานภาครัฐที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ยิ่งขึ้น พร้อมพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล   โดยสาเหตุหลักที่ทำให้หน่วยงานรัฐต้องเริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบริการประชาชนคือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินทางมาขอบริการที่หน่วยงานรัฐได้ ควบคู่กับพฤติกรรมของประชาชนในยุคนี้ ที่หันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้องมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน   

องค์ประกอบของ Government e-Services 

 

1....

read more

อ่านต่อ

“ธุรกิจไร้กระดาษ” สร้างได้อย่างไร ทำไมทุกองค์กรถึงสนใจ?

November 21, 2022

  ปัจจุบันมีหลายกิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน กำลังถูกขับเคลื่อนภายใต้การพัฒนาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะวิธีการสื่อสารที่ใช้เครือข่ายไร้สาย เข้ามาเป็นตัวเชื่อมระหว่างบุคคล ให้สามารถติดต่อหรือส่งข้อมูลได้อย่างไร้ขีดจำกัด เช่นเดียวกับกระบวนการทำงานภายในองค์กร ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ยืดหยุ่น และใช้รูปแบบข้อมูลที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งมีหลายองค์กรหันมาใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Document แทนเอกสารกระดาษกระดาษมากขึ้น เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์สแกน ฯลฯ    

ทำไม “ธุรกิจไร้กระดาษ” ถึงเป็นเป้าหมาย ขององค์กรยุคใหม่? 

จากผลการสำรวจของ ABBYY พบว่า “พนักงานบริษัทกว่า 92% ต้องเสียเวลาถึง 8 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในการค้นหาเอกสารจากแฟ้มหรือตู้เก็บเอกสาร ส่งผลให้การทำงานเกิดความล่าช้า” และยังต้องเผชิญกับปัญหาข้อมูลตกหล่น สูญหาย หรือซ้ำซ้อนด้วยสาเหตุมาจากการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ ส่งผลให้เกิดต้นทุนสิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีเอกสารเกิดข้อผิดพลาด หลายองค์กรเล็งเห็นช่องโหว่ตรงนี้ จึงหันมาให้ความสำคัญ ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื้อรังจากเอกสารกระดาษ และวางเป้าหมายพัฒนาระบบการทำงานให้กลายเป็น “ธุรกิจไร้กระดาษ” หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ Paperless   แต่อย่างไรก็ตามสำหรับบางธุรกิจ ยังคงคิดว่าการเปลี่ยนสู่การดำเนินงานแบบไร้กระดาษ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจจะยังสับสนว่าควรเริ่มต้นจากจุดไหน ถึงจะประสบความสำเร็จได้ วันนี้ Ditto... read more

อ่านต่อ

4 Workflow องค์กรยุคใหม่ ที่ควรเปลี่ยนให้เป็นระบบ Digital

November 17, 2022

  เมื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทต่อเนื่องในภาคธุรกิจ นับเป็นเรื่องปกติที่หลายองค์กรจะเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานภายในให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยสร้างผลลัพธ์การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนบุคลากรให้สามารถทำงาน ได้อย่างยืดหยุ่นขึ้นอีกหลายเท่า โดยจะมี Workflow อะไร ที่ควรเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัลบ้างนั้น วันนี้ Ditto ได้รวบรวมมาให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้อ่านกันแล้วครับ    

1. การอนุมัติเอกสาร 

  ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนหลักที่องค์กรชั้นนำให้ความสำคัญ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า Workflow การอนุมัติเอกสารแบบเก่า มักสร้างปัญหาและเกิดความล่าช้าได้ ซึ่งหากเราไม่ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย ก็จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่คอยฉุดรั้งธุรกิจไม่ให้เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้เอง ระบบอัตโนมัติ หรือระบบการจัดการเอกสาร (DMS) จึงเข้ามามีบทบาท เพราะทันทีที่ตัวองค์กรนำเอกสารเข้าสู่ระบบดิจิทัล และระบบ Workflow จะช่วยจัดการเอกสารที่ยุ่งเหยิง ให้เป็นระเบียบและตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ดังนี้   มีความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วยิ่งขึ้น หากขั้นตอนการอนุมัติเอกสารของตัวธุรกิจกลายเป็นระบบดิจิทัลหรือระบบอัตโนมัติ จะช่วยผลักดันระบบการทำงานภายในองค์กรให้เกิดความคล่องตัวและส่งต่องานไปยังแผนกอื่นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หมดปัญหาเอกสารตกค้างหรือสูญหาย เพราะระบบจัดการเอกสารจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ระบบการทำงานลื่นไหล ตั้งแต่เริ่มจนจบสิ้นกระบวนการ ตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดเวลา การปรับขั้นตอนการอนุมัติเอกสารให้เป็นระบบดิจิทัล จะทำให้คนที่รับผิดชอบในระบบนั้น ๆ สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงานย้อนหลังได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เป็นการเปลี่ยนปัญหาที่ยาก ให้กลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยความคล่องตัวนี้จะช่วยให้ตัวบุคลากรแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วหากเกิดปัญหาขึ้นมา ... read more

อ่านต่อ

จัดการ Invoice Processing ให้ได้เงินไว ไม่ต้องนั่งทวง

November 6, 2022

  Ditto เชื่อว่าปัญหาการชำระเงินล่าช้า เป็นปัญหาน่าปวดหัว ที่ทุกธุรกิจมักต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการหลายท่านอาจคิดว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากฝั่งลูกค้าเพียงฝ่ายเดียว แต่เชื่อหรือไม่ว่าในบางกรณี สาเหตุของการชำระเงินล่าช้าก็อาจมาจาก “Invoice Processing” หรือขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้ของธุรกิจคุณก็เป็นได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากจะมาแชร์เคล็ดลับการออกใบแจ้งนี้ ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้กันครับ ว่าต้องทำอย่างไรลูกค้าถึงจะชำระเงินไวที่สุด โดยที่เราไม่ต้องมานั่งทวงให้เสียเวลา  

1. ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน กระชับ และได้ใจความ

ทุกครั้งที่ออกใบแจ้งหนี้ ตัวธุรกิจต้องทำให้แน่ใจว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่บนเอกสารนั้นถูกต้อง ครบถ้วน และตรงประเด็น เงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ควรแจ้งต้องถูกระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะจำนวนเงินที่ต้องชำระ และวันเวลาที่ครบกำหนดต้องห้ามผิดพลาดเป็นอันขาด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัวธุรกิจต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากข้อมูลบนใบแจ้งหนี้คลาดเคลื่อนจนเกิดความเข้าใจผิด การชำระเงินของลูกค้าก็จะมีปัญหาติดขัดขึ้นมาทันที นอกจากธุรกิจคุณจะได้รับเงินล่าช้าไปกว่าเดิมแล้ว ตัวองค์กรอาจต้องเสียความน่าเชื่อถือไปอีกด้วย    

คำแนะนำ : เคล็ดลับการออกใบแจ้งหนี้ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย

  ไม่ใช้คำซับซ้อน พยายามตรงประเด็นเข้าไว้ พยายามหลีกเลี่ยงคำหรือประโยคที่ซับซ้อนเข้าใจยากบนใบแจ้งหนี้ เราต้องทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่อ่านเข้าใจได้อย่างทันทีเพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวเลขชัดเจน ใช้คำย่อวันเวลาให้ถูกต้อง ตัวเลขบนใบแจ้งหนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ  เราควรตรวจเช็คจุดทศนิยมและลูกน้ำทุกครั้งที่ออกเอกสาร รวมถึงวันและเวลา ที่ตัวองค์กรใช้ควรเป็นวันที่แบบสากลเข้าใจได้ในทันที สร้างตารางหรือวางเลย์เอาท์เอกสารให้เข้าใจง่าย การสร้างตารางหรือวางเลย์เอาท์ของเอกสารใบแจ้งหนี้ควรออกแบบให้ดี อย่าพยายามวางช่องหรือตีตารางที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น เพราะเวลาลูกค้าอ่าน อาจเกิดความสับสนเข้าใจผิด... read more

อ่านต่อ

4 วิธีรับมือ Digital Disruption ปรับองค์กรให้ก้าวทันโลก

October 31, 2022

  ในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งตัวธุรกิจหรือองค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน ก็อาจจะต้องเผชิญเข้ากับวิกฤติ Digital Disruption อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นวันนี้ Ditto จึงอยากจะแชร์แนวทางการรับมือ Digital Disruption ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้กันครับ ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ตัวธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป  

วิธีรับมือกับ Digital Disruption

1. ทยอยปรับเปลี่ยน “วิธีคิด” และ “วัฒนธรรมองค์กร”

  การปรับทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะในช่วงเวลาที่โลกแห่งเทคโนโลยีกำลังพัฒนาเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ขึ้น จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องประสบปัญหา Digital Disruption ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติให้เหมาะสมกับยุคสมัยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด    แต่ถึงกระนั้นการทำธุรกิจก็มีปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่ส่งผลให้การปรับตัวไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด หลายธุรกิจรู้ตัวล่วงหน้าก่อนด้วยซ้ำว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนต้องเผชิญกับเข้าวิกฤติ Digital Disruption ไปเต็ม ๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น การเตรียมพร้อมด้วยการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความยืดหยุ่นและทันสมัยอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้การปรับตัวจะไม่สามารถทำได้ในทันที แต่การทยอยทำไปทีละส่วน ปรับเปลี่ยนแก้ไขกันไปทีละนิด ก็จะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านปัญหาไปได้แม้จะต้องใช้เวลาก็ตาม คลิกเพื่ออ่านบทความการปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วย Digitization ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ... read more

paperless concept อ่านต่อ

Paperless แนวคิดที่จะช่วยจัดการปัญหาในหน่วยงานราชการ อบต. และ อบจ.

October 28, 2022

  Paperless คือ แนวคิดประหยัดการใช้กระดาษ ด้วยวิธีลดการใช้งานเอกสารรูปแบบกระดาษ หรือใช้วัสดุสิ่งของที่ทำจากกระดาษให้น้อยที่สุด ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการช่วยประหยัดพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นระบบ Digital มากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคม Digital Transformation ต่อไป   ยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายองค์กรทั่วโลกต่างหันมาใช้ระบบ Digital ในการทำงานแทนการทำงานแบบเดิมที่ใช้เอกสารกระดาษไปบ้างแล้ว ซึ่งทางหน่วยงานราชการไทยเองก็ปรับตัวมาใช้ระบบ Digital และเห็นความสำคัญของแนวคิด Paperless ไม่แพ้นานาชาติ โดยอีกไม่นานทางภาครัฐจะประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้หน่วยงานราชการสามารถปฏิบัติการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงหน่วยงาน อบต. และ อบจ. เองก็สามารถทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน โดยอาศัยแนวคิด Paperless เข้ามาช่วยจัดการปัญหาเอกสารต่างๆ ในหน่วยงานราชการ เพื่อปรับเปลี่ยนการบริการของภาครัฐให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ  

ปัญหาด้านการบริหารจัดการระบบเอกสารในหน่วยงานราชการ

 

1. หาเอกสารไม่เจอ เพราะจำนวนเอกสารเยอะ

โดยปกติแล้วเอกสารทางราชการนั้นมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นหนังสือภายใน หนังสือภายนอก หนังสือสั่งการ หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือรับรอง และหนังสือประเภทอื่น ๆ รวมถึงจำนวนเอกสารในแต่ละปีที่ทางหน่วยงานราชการออก ก็มีจำนวนนับไม่ถ้วน หากจำเป็นต้องค้นหาเอกสารสำคัญที่ย้อนหลังไป... read more

digital government อ่านต่อ

รัฐบาลดิจิทัลคืออะไร สำคัญกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรบ้าง?

October 28, 2022

  ร่างพ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็น พ.ร.บ. เรื่องเทคโนโลยี ที่ทางภาครัฐเพิ่งลงมติเห็นชอบ ให้หน่วยงานราชการสามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการให้ทันสมัย และเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการติดต่อทางออนไลน์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เรียกว่า “รัฐบาลดิจิทัล” หรือ “Digital government” ที่ทั่วโลกต่างกำลังปรับใช้กัน ว่าแต่ รัฐบาลดิจิทัล คืออะไร แล้วความสำคัญของรัฐบาลดิจิทัลเป็นอย่างไร วันนี้ Ditto เตรียมข้อมูลมาให้คุณแล้ว  

เสริมความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยี กับ รัฐบาลดิจิทัล

รัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital government คือ การที่หน่วยงานภาครัฐนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในหน่วยงาน เพิ่มศักยภาพการทำงานขององค์กรรัฐให้รวดเร็ว ก้าวทันตามเทคโนโลยีขององค์กรเอกชนได้อย่างเทียบเท่า รวมถึงยังมีระบบการเชื่อมโยงการเข้าถึงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ลักษณะรัฐบาลดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบดังนี้  

1. Reintegration 

เป็นรูปแบบของการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในภาครัฐ เชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสร้างศูนย์ข้อมูล และยังง่ายต่อการควบคุมและการจัดการของหน่วยงานราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   

2. Needs-based holism 

เป็นรูปแบบการปรับปรุงองค์กรภาครัฐ... read more

open government data อ่านต่อ

ข้อมูลเปิดภาครัฐคืออะไร? ทำไมถึงเป็นข้อมูลสำคัญที่คนไทยต้องรู้

October 27, 2022

  เมื่อไม่นานนี้ มีการประกาศรับร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้อีกไม่นานเกินรอจะมีการประกาศใช้ว่าด้วยกฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการทำงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อหน่วยงานราชการ ก็สามารถติดต่อผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว   แต่ทั้งนี้ กฎหมายที่กำลังจะถูกประกาศใช้ฉบับนี้ไม่ใช่ฉบับแรกที่มีการประกาศให้หน่วยงานภาครัฐ หันมาใช้ระบบออนไลน์ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เรามี พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ที่มีจุดประสงค์ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของข้าราชการได้อย่างครบถ้วน และสามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ พ.ร.บ. นี้จึงได้ชื่อว่าเป็นข้อมูลเปิดภาครัฐนั่นเอง  

ทำความรู้จัก "ข้อมูลเปิดภาครัฐ" 

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมาย ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ข้อมูลเปิดภาครัฐยังผ่านกระบวนการจัดลำดับความลับของข้อมูลว่าเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน หรือดัดแปลงได้ตามความต้องการแต่ละบุคคล และทาง พ.ร.บ. ยังกำหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data of Thailand) หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ใน เว็บไซต์... read more

หน่วยงานรัฐที่ติตด่อออนไลน์ได้ อ่านต่อ

ส่อง 7 หน่วยงานรัฐ ที่ติดต่อราชการออนไลน์ได้

October 27, 2022

  ปัจจุบัน ดิจิทัลออนไลน์นับเป็นปัจจัยที่ 5 ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานรัฐตื่นตัว หันมาใช้ระบบออนไลน์ในการจัดการการทำงานมากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการทำงานในรูปแบบออนไลน์ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน่วยงานรัฐ และสถานที่ราชการหลายแห่งเร่งแผนพัฒนาการให้บริการแบบดิจิทัล เพื่อรองรับการใช้งานระบบจัดการเอกสารออนไลน์ในการติดต่อ ทำเรื่องด้วยเอกสารออนไลน์ได้    ตอนนี้เรามาอัปเดตหน่วยงานราชการกันดีกว่า ว่าตอนนี้มีหน่วยงานไหนบ้างที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้ ไม่ต้องเดินทางไปถึงสถานที่ราชการให้เสียทั้งค่าเดินทาง และเสียทั้งเวลา  

หน่วยงานรัฐไหนบ้าง? ที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้

1. กรมการขนส่งทางบก

เริ่มกันด้วยที่กรมการขนส่งทางบก ที่เรียกว่าเหล่าคนขับขี่รถทั้งหลายที่ต้องไปสอบใบขับขี่จะรู้จักกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด 19 กรมการขนส่งทางบกได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานใหม่ สามารถติดต่อขอเอกสารออนไลน์เพื่อทำการสอบใบขับขี่รวมถึงการอบรมความรู้ด้านการจราจร ซึ่งเอกสารที่สามารถติดต่อออนไลน์จากกรมการขนส่งทางบกได้ มีดังนี้   จองคิวทำใบขับขี่ เสียภาษีรถยนต์ ขอเลขทะเบียนรถ ทั้งนี้การติดต่อเอกสารกับทางกรมการขนส่งทางบก อาจจะไม่ได้เป็นเอกสารที่เป็นกระดาษ แต่จะเป็นรูปแบบ e-Service ที่พร้อมให้บริการแบบออนไลน์ ทำให้ขั้นตอนการติดต่อต่าง ๆ สะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก  

2. กรมสรรพสามิต

เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ โดยทุกวันนี้เราสามารถติดต่อทางออนไลน์กับทางกรมสรรพสามิตในบริการหลักอย่าง การยื่นภาษีออนไลน์ ได้แล้ว แต่ทั้งนี้กรมสรรพสามิตยังมีบริการอื่น ๆ... read more