ข่าวสารประชาสัมพันธ์

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อ่านต่อ

5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อัปเดท 2024

March 15, 2024

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนพบเจอ หากยังไม่มีการแก้ไขและหาทางออกให้กับปัญหานี้ นอกจากเกิดผลกระทบกับโลกแล้วยังเกิดผลกระทบกับประชากรโลกอย่างมนุษย์และสัตว์อีกด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่สามารถเริ่มได้ที่ตัวเราและองค์กรของเรา เริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ลดการใช้ทรัพยากรโดยสิ้นเปลืองได้เร็วเท่านั้น   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า 5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง องค์กรของคุณสามารถดำเนินการได้โดยไม่ทำร้ายโลกและใช้พัฒนาได้ธุรกิจได้อย่างยั่งยืน มาศึกษาไปพร้อมกันเลย   5 เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   1.พลังงานทดแทน (Renewable Energy)     พลังงานทดแทน คือพลังงานสีเขียวที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต เพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน โดยแหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นทางเลือกที่นิยมมากที่สุด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ และพลังงานน้ำ ซึ่งการหันมาใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการทำร้ายโลก ช่วยให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีขึ้นนั่นเอง   2.การประมวลผลระบบคลาวด์ (Cloud Computing)     หลายคนรู้จักกันดีกับการประมวลผลระบบคลาวด์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้รับความนิยม ตัวอย่างเช่น Google Workspace และ Microsoft 365 ข้อดีของคลาวด์ ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการติดตั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สำหรับระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงระบบ ระบบคลาวด์สามารถใช้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร   3.ระบบอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)     อาคารอัจฉริยะ เป็นระบบบริหารจัดการอาคารที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีอาคารที่ล้ำสมัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพอาคารให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานได้ ทั้งระบบปรับอากาศภายในอาคาร การควบคุมอาคาร การจัดเก็บข้อมูล... read more

Carbon Neutral คือ อ่านต่อ

รู้จัก Carbon Neutral ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อลดการทำร้ายโลก

March 15, 2024

  หลายคนเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของอากาศในช่วงนี้ เช่น สภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนขึ้นกว่าปกติ ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ไปจนถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หมดไป ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา หนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาที่ทั่วโลกและประเทศไทยกำลังทำอยู่นั่นคือ Carbon Neutral เพื่อบรรลุเป้า Net zero emissions ในอนาคต   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า Carbon Neutral คืออะไร? Carbon Neutral vs Net zero มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา เรามาเจาะลึกไปพร้อม ๆ กันเลย     สาเหตุที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอน     ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามายังโลก เพื่อรักษาให้อุณหภูมิบนโลกมีความสมดุลและเหมาะกับสิ่งมีชีวิต แต่ถ้ามีมากไปอาจส่งผลให้ชั้นบรรยากาศเสียสมดุลและเกิดผลกระทบต่อโลก เช่น ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอันตรายส่องเข้ามายังโลกมากขึ้น, สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิโลกสูงขึ้น เป็นต้น     Carbon Neutral คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร Carbon neutrality หรือที่เรียกว่า... read more

Decarbonization อ่านต่อ

Decarbonization กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอนาคต

March 15, 2024

  จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยพยายามนำพลังงานทดแทนเข้ามาปรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า พร้อมลดการใช้แหล่งพลังงานที่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ด้วยความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทำงานหนักขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน (Decarbonization) ได้ในเชิงรุกมากขึ้น   หลายคนอาจสงสัยว่า Decarbonization คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา? บทความนี้เราได้สรุป Decarbonization ฉบับเข้าใจง่ายมาได้คุณได้ทำความรู้จักกัน   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากไหน     การเกิดขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน ทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้า กระบวนการคมนาคม รวมไปถึงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน     Decarbonization คืออะไร Decarbonization คือ กระบวนการลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมหรือลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลกในอัตรา 25% จึงทำให้มีบทบาทสำคัญในการเดินหน้าลดปริมาณคาร์บอนนั่นเอง     การจำกัดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้อย่างไร     การกำจัดคาร์บอนเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้เป้าหมายการ Decarbonization บรรลุได้ เป็นทางเลือกที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เป็นหลักพื้นฐานในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งความท้าทายแรกของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้ยังมีประสิทธิภาพ นั่นคือการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดเข้ามาช่วยเพื่อลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   อีกหนึ่งความท้าทายสำหรับการ Decarbonization คือการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการคมนาคม และการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หากมีมาตรการที่ช่วยเข้ามาควบคุมและมีระเบียบวินัย จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน     สรุป Decarbonization   ขณะที่หลายหน่วยงานกำลังเร่งลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค และภาครัฐของแต่ละประเทศ ในฐานะประชากรของโลก... read more

พลังงานทดแทน มีอะไรบ้าง อ่านต่อ

พลังงานทดแทนคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากพลังงานสะอาดอย่างไร ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

March 15, 2024

  พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย การคมนาคม การประกอบอาหาร การแพทย์ และสิ่งอื่น ๆ รอบตัวเราอีกมากมาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายิ่งมนุษย์มีความต้องการมากขึ้นเท่าไหร่ ก็มีการใช้พลังก็มากขึ้นเท่านั้น หากไปปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปโดยไม่แก้ไขอาจถึงวันที่เราไม่เหลือพลังงานให้ใช้เลยก็เป็นได้   ในปัจจุบันจึงมีการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานที่กำลังจะหมดไป บทความนี้จากพาคุณมาทำความรู้จักไปพร้อมกันว่าพลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง? และพลังงานทดแทนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?   พลังงานทดแทนคืออะไร   พลังงานทดแทน คือ พลังที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต และส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน พลังงานทดแทนจึงเป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและเกิดขึ้นต่อเนื่อง สามารถใช้ทดแทนพลังงานเดิมและช่วยลดปัญหามลพิษได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล เป็นต้น   พลังงานทดแทนมีหลักการทำงานอย่างไร     พลังงานทดแทนนำไปใช้ประโยชน์มีหลักการอยู่ 2 รูปแบบ นั่นคือ การนำไปใช้โดยตรง และการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างการนำพลังงานทดแทนไปใช้โดยตรง เช่น การล่องเรือโดยใช้แรงลม การถนอมอาหารด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น   ส่วนการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ซึ่งในทางฟิสิกส์มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานจลน์ พลังงานกล หรือพลังงานศักย์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นต้น โดยพลังงานทดแทนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พลังงานสิ้นเปลือง... read more

paperless คือ อ่านต่อ

รู้จักการทำงานแบบ Paperless แนวคิดยุคใหม่ที่ทุกองค์กรควรปรับใช้งาน

March 15, 2024

  การทำธุรกิจในยุคนี้จำเป็นต้องก้าวให้ทันโลก การพัฒนาองค์กรที่เคยใช้ระบบเอกสารที่ยุ่งยาก ล่าช้า มีปัญหาจุกจิก จึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่หลายองค์กรทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะลดปัญหาการสืบค้นเอกสารเพื่อนำมาใช้แล้ว ยังช่วยลดการใช้กระดาษโดยสิ้นเปลือง ลดปริมาณขยะในสำนักงาน และช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้เพื่อนำมาผลิตกระดาษ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อโลกอีกด้วย   ระบบเอกสารไร้กระดาษ หรือ Paperless เป็นระบบที่ช่วยให้การใช้งานเอกสารมีความง่ายดาย รวดเร็ว ช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ หากองค์กรไหนที่อยากปรับมาใช้ระบบ Paperless ก็ยังไม่สายเกินไป เราจะมาเจาะลึกว่า Paperless คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้   ทำความรู้จัก Paperless คืออะไร     Paperless คือ ระบบที่เข้ามาช่วยดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร และจัดการข้อมูลในองค์กรโดยไม่พึ่งพาการใช้กระดาษ แต่อาจจะใช้กระดาษเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น องค์กรที่ใช้ระบบ Paperless จะใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลในการสร้างเอกสารและจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนวิธีพิมพ์เอกสารหรือเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษนั่นเอง ยกตัวอย่างองค์กรที่ใช้ระบบ Paperless เช่น กรมศุลกากร และโรงพยาบาล   ถึงแม้ระบบ Paperless จะไม่ใช่แนวคิดที่แปลกใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลากหลายองค์กรก็ต่างหันมาจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันที่อาจมีการทำงานแบบ Work from Home หรือนักเรียนที่ต้องเรียนออนไลน์นั่นเอง   ระบบ Paperless มีข้อดีอย่างไร การเปลี่ยนมาจัดการเอกสารด้วยระบบ... read more

ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น อ่านต่อ

ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

March 15, 2024

  ในปัจจุบันมีข้อมูลเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล (Big Data) หากองค์กรไม่สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้าง ทุกองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้และสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจ จึงมีการใช้ “Data Architecture” หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “สถาปัตยกรรมข้อมูล” มาวางระบบฐานข้อมูลภายในองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้น   บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักว่า Data Architecture คืออะไร? มีความสำคัญและกระบวนการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ในองค์กรของคุณ   Data Architecture คืออะไร   Data Architecture คือ การวางระบบและการวางแผนจัดการข้อมูลภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้มีความคล่องตัวในการเรียกข้อมูลมาใช้งาน โดยจัดการกับข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ข้อมูลมีแหล่งที่มาจากไหน จัดเก็บไว้ที่ไหนและรูปแบบใด เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งโครงสร้างของ Data Architecture อาจจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและหน้าที่ของแต่ละองค์กรนั่นเอง   องค์ประกอบสำคัญของ Data Architecture คือ     องค์ประกอบของ Data Architecture คือ การมีข้อมูลและ workflow ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 ช่วง ซึ่งแต่ละช่วงมีการทำงานอย่างไรเรามาดูกันเลย   1. Data Warehouse Data Warehouse คือ... read more

Data Analytics คืออะไร ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรและนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง อ่านต่อ

Data Analytics คืออะไร ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรและนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

February 23, 2024

  ปัจจุบันมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ทำให้ในแต่ละธุรกิจก็ต้องมีอาวุธหรือไพ่ลับที่เป็นทีเด็ดขององค์กรของตัวเอง ซึ่งในยุคนี้ไม่ใช่แค่เพียงมีเงินทุนที่หนา ๆ หรือผู้บริหารระดับหัวกะทิจะเพียงพอสำหรับการแข่งขันในยุคนี้ แต่ที่สำคัญคือการที่องค์กรของเรามีความสามารถที่จะจัดการข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่มากมายให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด รวดเร็ว และทันสถานการณ์นั่นเอง   แม้จะเป็นองค์กรขนาดเล็กเพียงแค่รู้จัก Data Analytics ก็จะสามารถพาองค์กรของคุณไปแข่งขันเทียบเท่าองค์กรระดับชั้นนำได้เช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงจะพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ Data Analytics คืออะไร? และทำไมถึงเป็นไพ่ลับที่ทุกองค์กรควรนำมาปรับใช้   Data Analytics คืออะไร?     Data Analytics คือ การนำข้อมูลขององค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่เหล่านั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการตลาดเพื่อที่จะได้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการออกมาให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น หรือนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาวางแผนและคาดการณ์แนวโน้มของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้เช่นเดียวกัน   ทั้งนี้ Data Analytics จึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาด ไม่จำเป็นจะต้องเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถใช้เครื่องมืออย่าง Data Analytics สำหรับการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างแม่นยำและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด   ทำความรู้จัก Data Analytics ทั้ง 4 ประเภท     หลังจากที่เรารู้แล้วว่า Data Analytics คือ การนำข้อมูลขององค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลมากยิ่งขึ้น Data... read more

Big Data คืออะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้อย่างไรบ้าง อ่านต่อ

Big Data คืออะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้อย่างไรบ้าง

February 23, 2024

  ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาลและเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรใดที่มีฐานข้อมูลหรือ Big Data จำนวนมากเท่าไร จะยิ่งกลายเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจมากเท่านั้น เพราะคุณค่าของข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการตลาดให้ตอบโจทย์อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น   Big Data คืออะไร?   Big Data คือ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณมหาศาล หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น ฐานข้อมูลขององค์กร ฐานข้อมูลลูกค้า ข้อมูลโซเชียลมีเดีย ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค และอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเก็บรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์   ซึ่งชุดข้อมูลขนาดใหญ่นี้ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนและต่อยอดการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม จึงต้องถูกจัดเก็บอยู่บนระบบจัดการเอกสารและข้อมูล เพื่อให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถขยายขนาดของฐานข้อมูลได้ตามความต้องการ   ลักษณะของ Big Data มีอะไรบ้าง     คุณลักษณะของ Big Data มักถูกเรียกว่า 5Vs ประกอบด้วย   ปริมาณ (Volume) หมายถึง ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล โดยปริมาณของข้อมูลจะแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่รวดเร็ว ทำให้เกิดความท้าทายในการจัดการ Big Data องค์กรหรือบุคคลที่ต้องการใช้ประโยชน์จาก Big Data จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม จัดการ... read more

Hybrid Working เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ 2024 เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในองค์กร อ่านต่อ

Hybrid Working เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ 2024 เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในองค์กร

February 23, 2024

  จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2020 ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันเพื่อมาทำงานร่วมกับทุกคนในองค์กร แต่ด้วยมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของโรค องค์กรต้องคำนึงถึงมาตรการกันระยะห่างทางสังคม (Social distancing) จึงมีความจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน และนำมาสู่เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ “Hybrid Working”   ทำความเข้าใจ Hybrid working คืออะไร   การทำงานแบบ Hybrid Working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และการทำงานที่ออฟฟิศ (Work from Office) เข้าด้วยกัน โดยพนักงานสามารถเลือกสถานที่ทำงานได้ตามความต้องการและความเหมาะสม ต่างจากเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน   โดยการทำงานแบบ Hybrid Working นี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าต่อไปหลายองค์กรจะเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการทำงานเป็นแบบผสมผสาน เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงาน   รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีอะไรบ้าง?   รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรและพนักงาน รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working ที่นิยม ได้แก่   Flexible Hybrid... read more

Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวก และฉับไว อ่านต่อ

รู้จักแนวคิดการบริหารองค์กรแบบ Decentralized เพื่อการทำงานที่สะดวก ฉับไว

February 23, 2024

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารงานแบบรวมอำนาจการตัดสินใจต่าง ๆ ไว้ที่บุคคลเดียว (Centralization) ประสบปัญหาและส่งผลกระทบต่อการทำงานขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันหลายองค์กรเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารมาเป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจ หรือที่เรียกกันว่า “Decentralized”   Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวกและฉับไว โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตอย่างที่ผ่านมา   เพื่อให้ทุกคนเข้าใจการบริหารองค์กรแบบ Decentralized ว่าคืออะไร? แตกต่างกับแนวคิดบริหารแบบ Centralizetion อย่างไรบ้าง? วันนี้เราไปทำความรู้จักแนวคิดเหล่านั้นพร้อมกันเลย   การบริหารองค์กรแบบ Decentralized คืออะไร   การบริหารองค์กรในรูปแบบ Decentralized คือ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้แก่พนักงานในตำแหน่งหรือแผนกใดก็ตามที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญให้ทำการตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอคำตัดสินใจจากผู้บริหารขององค์กร การบริหารในรูปแบบนี้จะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็ว องค์กรที่มีรูปแบบการบริหารแบบ Decentralized จะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร   นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารงานที่ต้องรอการตัดสินใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียว (Centralization) จะเห็นว่า การบริหารแบบ Decentralized มีความยืดหยุ่นและแก้ปัญหาได้อย่างฉับไวมากกว่านั่นเอง   ความแตกต่างของแนวคิดบริหารแบบดั้งเดิม Centralization vs Decentralized     เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าการบริหารในรูปแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกกันว่า Centralization คืออะไร? และเป็นการบริหารองค์กรในลักษณะใด   การบริหารในรูปแบบ... read more

Growth Mindset และ Fixed Mindset แนวคิดเพื่อการเติบโตขององค์กร อ่านต่อ

Growth Mindset และ Fixed Mindset แนวคิดเพื่อการเติบโตขององค์กร

February 23, 2024

  Growth Mindset คือ ความคิดที่เชื่อว่าความสามารถและความเก่งของเราสามารถที่จะพัฒนาได้โดยการใฝ่เรียนรู้และสั่งสมจากประสบการณ์การทำงาน เรียกได้ว่า Growth Mindset เป็นกุญแจสำคัญสู่ความก้าวหน้าในการทำงานของบุคคล และยังเป็นแนวคิดที่จะทำให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างก้าวกระโดด   ในทางกลับกัน Fixed Mindset เป็นกรอบความคิดแบบตายตัวที่เชื่อว่าความสามารถนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้ที่ทำงานได้ไม่ดี จะไม่มีวันทำได้ดีกว่านี้ องค์กรที่มีความคิดลักษณะนี้มักมองหาคนที่มีความสามารถโดยธรรมชาติเป็นทุนเดิมแทนที่จะหาวิธีพัฒนาความสามารถของคุณในองค์กร ไม่ให้คุณค่ากับพนักงานที่แสดงศักยภาพผ่านความพยายามและการทำงานหนัก   สุดท้ายแล้ว ซึ่งแนวความคิดแบบ Fixed Mindset นี้เองที่อาจส่งผลให้การเติบโตขององค์กรหยุดชะงักลง ดังนั้นองค์กรควรที่จะปลูกฝังและฝึกอบรมให้พนักงานในองค์กรมีแนวความคิดแบบ Growth Mindset สามารถที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายและตอบสนองเป้าหมายใหม่ ๆ ขององค์กรได้   แนวคิด Growth Mindset คืออะไร     กรอบความคิดแบบ Growth Mindset ของพนักงานในองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและเติบโตขององค์กร พนักงานที่มี Growth Mindset คือ คนที่ความพร้อมจะปรับตัว เรียนรู้แก้ไขปัญหารับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างไม่ย่อท้อ   องค์กรควรปลูกฝังให้พนักงานมีความกล้าที่จะพัฒนาตนเองผ่านการฝึกอบรมและมอบหมายงานที่มีความท้าทาย เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และฝึกฝน ได้ออกจากพื้นที่ Comfort Zone เดิมที่ปิดกั้นการพัฒนา รวมถึงได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากประสบการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน   ขณะเดียวกันนั้นองค์กรควรที่จะจัดหาเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของพนักงานให้สะดวกราบรื่น ยกตัวอย่างเช่น... read more

ESG แนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่องค์กรไทยไม่ควรมองข้าม อ่านต่อ

ESG แนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่องค์กรไทยไม่ควรมองข้าม

February 23, 2024

ESG เป็นตัวย่อมาจาก Environment, Social และ Governance คือแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความตระหนักรู้และจิตสำนึกของสังคมเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก   สังคมมีความคาดหวังให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การลดผลกระทบด้านลบให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยังต้องสนับสนุนและสร้างผลกระทบในทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย   ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เหล่านักลงทุนจึงตระหนักถึงความสำคัญของ ESG มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภาคธุรกิจจำนวนมากเริ่มบูรณาการ ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรในไทยถึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของ ESG   ทำความรู้จักกับ ESG คืออะไร     การลงทุน ESG คือการมุ่งเน้นที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยแนวคิด ESG คือ แนวทางปฏิบัติในการลงทุนที่ไม่เพียงแค่คำนึงถึงการสร้างกำไรทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะต้องสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย   ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตและการบริโภคทั่วโลกมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ทุกการผลิตและการบริโภคตั้งแต่ยานพาหนะไปจนถึงอาหารการกินส่งผลให้เกิดมลพิษ ของเสีย การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ภาคธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น ๆ   ปัจจัยด้านสังคม อีกจุดเด่นหนึ่งของ ESG คือ การมุ่งให้องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อพนักงานภายในองค์กร อาทิ สิทธิแรงงาน ความหลากหลายและความเท่าเทียมของแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มาตรฐานด้านแรงงานยังไม่แข็งแรงมากนัก นอกจากนี้องค์กรยังต้องจัดการกับผลกระทบทางสังคมที่มาจากการดำเนินธุรกิจ   ... read more