News

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อ่านต่อ

5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อัปเดท 2024

March 15, 2024

  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนพบเจอ หากยังไม่มีการแก้ไขและหาทางออกให้กับปัญหานี้ นอกจากเกิดผลกระทบกับโลกแล้วยังเกิดผลกระทบกับประชากรโลกอย่างมนุษย์และสัตว์อีกด้วย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่สามารถเริ่มได้ที่ตัวเราและองค์กรของเรา เริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ลดการใช้ทรัพยากรโดยสิ้นเปลืองได้เร็วเท่านั้น   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า 5 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง องค์กรของคุณสามารถดำเนินการได้โดยไม่ทำร้ายโลกและใช้พัฒนาได้ธุรกิจได้อย่างยั่งยืน มาศึกษาไปพร้อมกันเลย   5 เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   1.พลังงานทดแทน (Renewable Energy)     พลังงานทดแทน คือพลังงานสีเขียวที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต เพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน โดยแหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นทางเลือกที่นิยมมากที่สุด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ และพลังงานน้ำ ซึ่งการหันมาใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดการทำร้ายโลก ช่วยให้สภาพแวดล้อมกลับมาดีขึ้นนั่นเอง   2.การประมวลผลระบบคลาวด์ (Cloud Computing)     หลายคนรู้จักกันดีกับการประมวลผลระบบคลาวด์ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้รับความนิยม ตัวอย่างเช่น Google Workspace และ Microsoft 365 ข้อดีของคลาวด์ ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการติดตั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สำหรับระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุงระบบ ระบบคลาวด์สามารถใช้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร   3.ระบบอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)     อาคารอัจฉริยะ เป็นระบบบริหารจัดการอาคารที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีอาคารที่ล้ำสมัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพอาคารให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานได้ ทั้งระบบปรับอากาศภายในอาคาร การควบคุมอาคาร การจัดเก็บข้อมูล... read more

Carbon Neutral คือ อ่านต่อ

รู้จัก Carbon Neutral ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อลดการทำร้ายโลก

March 15, 2024

  หลายคนเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของอากาศในช่วงนี้ เช่น สภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนขึ้นกว่าปกติ ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ไปจนถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หมดไป ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา หนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาที่ทั่วโลกและประเทศไทยกำลังทำอยู่นั่นคือ Carbon Neutral เพื่อบรรลุเป้า Net zero emissions ในอนาคต   บทความนี้จะพาคุณมารู้จักว่า Carbon Neutral คืออะไร? Carbon Neutral vs Net zero มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา เรามาเจาะลึกไปพร้อม ๆ กันเลย     สาเหตุที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอน     ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามายังโลก เพื่อรักษาให้อุณหภูมิบนโลกมีความสมดุลและเหมาะกับสิ่งมีชีวิต แต่ถ้ามีมากไปอาจส่งผลให้ชั้นบรรยากาศเสียสมดุลและเกิดผลกระทบต่อโลก เช่น ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำให้รังสีอันตรายส่องเข้ามายังโลกมากขึ้น, สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง และอุณหภูมิโลกสูงขึ้น เป็นต้น     Carbon Neutral คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร Carbon neutrality หรือที่เรียกว่า... read more

Decarbonization อ่านต่อ

Decarbonization กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอนาคต

March 15, 2024

  จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยพยายามนำพลังงานทดแทนเข้ามาปรับใช้ในการผลิตไฟฟ้า พร้อมลดการใช้แหล่งพลังงานที่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ด้วยความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทำงานหนักขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน (Decarbonization) ได้ในเชิงรุกมากขึ้น   หลายคนอาจสงสัยว่า Decarbonization คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับโลกของเรา? บทความนี้เราได้สรุป Decarbonization ฉบับเข้าใจง่ายมาได้คุณได้ทำความรู้จักกัน   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากไหน     การเกิดขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน ทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้า กระบวนการคมนาคม รวมไปถึงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเช่นกัน     Decarbonization คืออะไร Decarbonization คือ กระบวนการลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมหรือลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลกในอัตรา 25% จึงทำให้มีบทบาทสำคัญในการเดินหน้าลดปริมาณคาร์บอนนั่นเอง     การจำกัดคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้อย่างไร     การกำจัดคาร์บอนเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้เป้าหมายการ Decarbonization บรรลุได้ เป็นทางเลือกที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เป็นหลักพื้นฐานในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งความท้าทายแรกของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้ยังมีประสิทธิภาพ นั่นคือการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดเข้ามาช่วยเพื่อลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   อีกหนึ่งความท้าทายสำหรับการ Decarbonization คือการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการคมนาคม และการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ หากมีมาตรการที่ช่วยเข้ามาควบคุมและมีระเบียบวินัย จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน     สรุป Decarbonization   ขณะที่หลายหน่วยงานกำลังเร่งลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค และภาครัฐของแต่ละประเทศ ในฐานะประชากรของโลก... read more

พลังงานทดแทน มีอะไรบ้าง อ่านต่อ

พลังงานทดแทนคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากพลังงานสะอาดอย่างไร ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

March 15, 2024

  พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย การคมนาคม การประกอบอาหาร การแพทย์ และสิ่งอื่น ๆ รอบตัวเราอีกมากมาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายิ่งมนุษย์มีความต้องการมากขึ้นเท่าไหร่ ก็มีการใช้พลังก็มากขึ้นเท่านั้น หากไปปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปโดยไม่แก้ไขอาจถึงวันที่เราไม่เหลือพลังงานให้ใช้เลยก็เป็นได้   ในปัจจุบันจึงมีการใช้พลังงานทดแทนที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานที่กำลังจะหมดไป บทความนี้จากพาคุณมาทำความรู้จักไปพร้อมกันว่าพลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง? และพลังงานทดแทนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?   พลังงานทดแทนคืออะไร   พลังงานทดแทน คือ พลังที่ใช้แทนพลังงานจากน้ำมันและเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดไปในอนาคต และส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน พลังงานทดแทนจึงเป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและเกิดขึ้นต่อเนื่อง สามารถใช้ทดแทนพลังงานเดิมและช่วยลดปัญหามลพิษได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล เป็นต้น   พลังงานทดแทนมีหลักการทำงานอย่างไร     พลังงานทดแทนนำไปใช้ประโยชน์มีหลักการอยู่ 2 รูปแบบ นั่นคือ การนำไปใช้โดยตรง และการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างการนำพลังงานทดแทนไปใช้โดยตรง เช่น การล่องเรือโดยใช้แรงลม การถนอมอาหารด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น   ส่วนการเปลี่ยนพลังงานให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้า ซึ่งในทางฟิสิกส์มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานจลน์ พลังงานกล หรือพลังงานศักย์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นต้น โดยพลังงานทดแทนสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พลังงานสิ้นเปลือง... read more

paperless คือ อ่านต่อ

รู้จักการทำงานแบบ Paperless แนวคิดยุคใหม่ที่ทุกองค์กรควรปรับใช้งาน

March 15, 2024

  การทำธุรกิจในยุคนี้จำเป็นต้องก้าวให้ทันโลก การพัฒนาองค์กรที่เคยใช้ระบบเอกสารที่ยุ่งยาก ล่าช้า มีปัญหาจุกจิก จึงเป็นหนึ่งในเรื่องที่หลายองค์กรทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะลดปัญหาการสืบค้นเอกสารเพื่อนำมาใช้แล้ว ยังช่วยลดการใช้กระดาษโดยสิ้นเปลือง ลดปริมาณขยะในสำนักงาน และช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้เพื่อนำมาผลิตกระดาษ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อโลกอีกด้วย   ระบบเอกสารไร้กระดาษ หรือ Paperless เป็นระบบที่ช่วยให้การใช้งานเอกสารมีความง่ายดาย รวดเร็ว ช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ หากองค์กรไหนที่อยากปรับมาใช้ระบบ Paperless ก็ยังไม่สายเกินไป เราจะมาเจาะลึกว่า Paperless คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้   ทำความรู้จัก Paperless คืออะไร     Paperless คือ ระบบที่เข้ามาช่วยดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร และจัดการข้อมูลในองค์กรโดยไม่พึ่งพาการใช้กระดาษ แต่อาจจะใช้กระดาษเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น องค์กรที่ใช้ระบบ Paperless จะใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลในการสร้างเอกสารและจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนวิธีพิมพ์เอกสารหรือเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษนั่นเอง ยกตัวอย่างองค์กรที่ใช้ระบบ Paperless เช่น กรมศุลกากร และโรงพยาบาล   ถึงแม้ระบบ Paperless จะไม่ใช่แนวคิดที่แปลกใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลากหลายองค์กรก็ต่างหันมาจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันที่อาจมีการทำงานแบบ Work from Home หรือนักเรียนที่ต้องเรียนออนไลน์นั่นเอง   ระบบ Paperless มีข้อดีอย่างไร การเปลี่ยนมาจัดการเอกสารด้วยระบบ... read more

ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น อ่านต่อ

ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

March 15, 2024

  ในปัจจุบันมีข้อมูลเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล (Big Data) หากองค์กรไม่สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้าง ทุกองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้และสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจ จึงมีการใช้ “Data Architecture” หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “สถาปัตยกรรมข้อมูล” มาวางระบบฐานข้อมูลภายในองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้น   บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักว่า Data Architecture คืออะไร? มีความสำคัญและกระบวนการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ในองค์กรของคุณ   Data Architecture คืออะไร   Data Architecture คือ การวางระบบและการวางแผนจัดการข้อมูลภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้มีความคล่องตัวในการเรียกข้อมูลมาใช้งาน โดยจัดการกับข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ข้อมูลมีแหล่งที่มาจากไหน จัดเก็บไว้ที่ไหนและรูปแบบใด เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งโครงสร้างของ Data Architecture อาจจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและหน้าที่ของแต่ละองค์กรนั่นเอง   องค์ประกอบสำคัญของ Data Architecture คือ     องค์ประกอบของ Data Architecture คือ การมีข้อมูลและ workflow ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 ช่วง ซึ่งแต่ละช่วงมีการทำงานอย่างไรเรามาดูกันเลย   1. Data Warehouse Data Warehouse คือ... read more

Data Analytics คืออะไร ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรและนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง อ่านต่อ

Data Analytics คืออะไร ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรและนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

February 23, 2024

  ปัจจุบันมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ทำให้ในแต่ละธุรกิจก็ต้องมีอาวุธหรือไพ่ลับที่เป็นทีเด็ดขององค์กรของตัวเอง ซึ่งในยุคนี้ไม่ใช่แค่เพียงมีเงินทุนที่หนา ๆ หรือผู้บริหารระดับหัวกะทิจะเพียงพอสำหรับการแข่งขันในยุคนี้ แต่ที่สำคัญคือการที่องค์กรของเรามีความสามารถที่จะจัดการข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่มากมายให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด รวดเร็ว และทันสถานการณ์นั่นเอง   แม้จะเป็นองค์กรขนาดเล็กเพียงแค่รู้จัก Data Analytics ก็จะสามารถพาองค์กรของคุณไปแข่งขันเทียบเท่าองค์กรระดับชั้นนำได้เช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงจะพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ Data Analytics คืออะไร? และทำไมถึงเป็นไพ่ลับที่ทุกองค์กรควรนำมาปรับใช้   Data Analytics คืออะไร?     Data Analytics คือ การนำข้อมูลขององค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อนำข้อมูลที่มีอยู่เหล่านั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการตลาดเพื่อที่จะได้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการออกมาให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น หรือนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาวางแผนและคาดการณ์แนวโน้มของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้เช่นเดียวกัน   ทั้งนี้ Data Analytics จึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาด ไม่จำเป็นจะต้องเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถใช้เครื่องมืออย่าง Data Analytics สำหรับการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างแม่นยำและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด   ทำความรู้จัก Data Analytics ทั้ง 4 ประเภท     หลังจากที่เรารู้แล้วว่า Data Analytics คือ การนำข้อมูลขององค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลมากยิ่งขึ้น Data... read more

Big Data คืออะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้อย่างไรบ้าง อ่านต่อ

Big Data คืออะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้อย่างไรบ้าง

February 23, 2024

  ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลมีปริมาณมหาศาลและเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรใดที่มีฐานข้อมูลหรือ Big Data จำนวนมากเท่าไร จะยิ่งกลายเป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจมากเท่านั้น เพราะคุณค่าของข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการตลาดให้ตอบโจทย์อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น   Big Data คืออะไร?   Big Data คือ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณมหาศาล หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น ฐานข้อมูลขององค์กร ฐานข้อมูลลูกค้า ข้อมูลโซเชียลมีเดีย ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค และอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเก็บรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์   ซึ่งชุดข้อมูลขนาดใหญ่นี้ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนและต่อยอดการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม จึงต้องถูกจัดเก็บอยู่บนระบบจัดการเอกสารและข้อมูล เพื่อให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถขยายขนาดของฐานข้อมูลได้ตามความต้องการ   ลักษณะของ Big Data มีอะไรบ้าง     คุณลักษณะของ Big Data มักถูกเรียกว่า 5Vs ประกอบด้วย   ปริมาณ (Volume) หมายถึง ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล โดยปริมาณของข้อมูลจะแตกต่างกันไปตามแต่ละอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่รวดเร็ว ทำให้เกิดความท้าทายในการจัดการ Big Data องค์กรหรือบุคคลที่ต้องการใช้ประโยชน์จาก Big Data จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวม จัดการ... read more

Hybrid Working เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ 2024 เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในองค์กร อ่านต่อ

Hybrid Working เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ 2024 เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของคนในองค์กร

February 23, 2024

  จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงปี 2020 ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันเพื่อมาทำงานร่วมกับทุกคนในองค์กร แต่ด้วยมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของโรค องค์กรต้องคำนึงถึงมาตรการกันระยะห่างทางสังคม (Social distancing) จึงมีความจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน และนำมาสู่เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ “Hybrid Working”   ทำความเข้าใจ Hybrid working คืออะไร   การทำงานแบบ Hybrid Working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และการทำงานที่ออฟฟิศ (Work from Office) เข้าด้วยกัน โดยพนักงานสามารถเลือกสถานที่ทำงานได้ตามความต้องการและความเหมาะสม ต่างจากเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน   โดยการทำงานแบบ Hybrid Working นี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าต่อไปหลายองค์กรจะเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการทำงานเป็นแบบผสมผสาน เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงาน   รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีอะไรบ้าง?   รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรและพนักงาน รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working ที่นิยม ได้แก่   Flexible Hybrid... read more

Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวก และฉับไว อ่านต่อ

รู้จักแนวคิดการบริหารองค์กรแบบ Decentralized เพื่อการทำงานที่สะดวก ฉับไว

February 23, 2024

  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายองค์กรที่มีรูปแบบการบริหารงานแบบรวมอำนาจการตัดสินใจต่าง ๆ ไว้ที่บุคคลเดียว (Centralization) ประสบปัญหาและส่งผลกระทบต่อการทำงานขึ้น ส่งผลให้ปัจจุบันหลายองค์กรเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารมาเป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจ หรือที่เรียกกันว่า “Decentralized”   Decentralized คือ การกระจายอำนาจให้พนักงานในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญได้มีอำนาจในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว สะดวกและฉับไว โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตอย่างที่ผ่านมา   เพื่อให้ทุกคนเข้าใจการบริหารองค์กรแบบ Decentralized ว่าคืออะไร? แตกต่างกับแนวคิดบริหารแบบ Centralizetion อย่างไรบ้าง? วันนี้เราไปทำความรู้จักแนวคิดเหล่านั้นพร้อมกันเลย   การบริหารองค์กรแบบ Decentralized คืออะไร   การบริหารองค์กรในรูปแบบ Decentralized คือ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจให้แก่พนักงานในตำแหน่งหรือแผนกใดก็ตามที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญให้ทำการตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอคำตัดสินใจจากผู้บริหารขององค์กร การบริหารในรูปแบบนี้จะช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็ว องค์กรที่มีรูปแบบการบริหารแบบ Decentralized จะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร   นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารงานที่ต้องรอการตัดสินใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียว (Centralization) จะเห็นว่า การบริหารแบบ Decentralized มีความยืดหยุ่นและแก้ปัญหาได้อย่างฉับไวมากกว่านั่นเอง   ความแตกต่างของแนวคิดบริหารแบบดั้งเดิม Centralization vs Decentralized     เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าการบริหารในรูปแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกกันว่า Centralization คืออะไร? และเป็นการบริหารองค์กรในลักษณะใด   การบริหารในรูปแบบ... read more