Warning: Constant WP_DEBUG_DISPLAY already defined in /var/www/vhosts/dittothailand.com/httpdocs/wp-config.php on line 111

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the porto-functionality domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/dittothailand.com/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6121

Warning: Undefined property: stdClass::$last_attempt_gmt in /var/www/vhosts/dittothailand.com/httpdocs/wp-content/plugins/woocommerce/packages/action-scheduler/classes/data-stores/ActionScheduler_DBStore.php on line 362

Warning: Undefined property: stdClass::$last_attempt_gmt in /var/www/vhosts/dittothailand.com/httpdocs/wp-content/plugins/woocommerce/packages/action-scheduler/classes/data-stores/ActionScheduler_DBStore.php on line 362
5 สัญญาณ ถึงเวลาเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดเก็บเอกสาร อบต. และ อบจ. อิเล็กทรอนิกส์

5 สัญญาณ ถึงเวลาเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดเก็บเอกสาร อบต. และ อบจ. อิเล็กทรอนิกส์

  • September 26, 2022

News Description

สัญญาณถึงเวลาเปลี่ยนระบบจัดการเอกสาร

 

จากปัญหาในการจัดเก็บเอกสารของหน่วยงาน อบต. และ อบจ. ในปัจจุบัน ที่ยังคงมีรูปแบบในการจัดเก็บเป็นแฟ้มหรือกล่องกระดาษ และการใช้โปรแกรมประยุกต์สเปรดชีท (Excel) โดยมีรูปแบบที่ยุ่งยากและซับซ้อนในการจัดเก็บ ด้วยจำนวนของเอกสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน เพราะปริมาณของเอกสารที่ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ต้องเสียเวลาในการจัดเก็บและค้นหามากขึ้นเท่านั้น ทำให้โอกาสของการชำรุดหรือสูญหายของเอกสารมีสูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน และยังทำให้การจัดหมวดหมู่เอกสารยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ทั้งหมดนี้นับว่าเป็นปัญหาเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายองค์กร และปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีเท่าไรนัก

 

สาเหตุหลักเป็นเพราะหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีการนำระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บและบริหารจัดการเอกสาร ด้วยรูปแบบการจัดเก็บเอกสารแบบเดิมที่เก่าเกินไป และมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาตามเทคโนโลยีที่หมุนผ่าน ส่งผลให้เกิดสัญญาณเตือนตามมา ว่าแต่สัญญาณเตือนดังกล่าวจะมีอะไรบ้าง ดิทโต้ รวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้

 

 5 เหตุผลควรเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ.

1 .ความไม่สะดวกในการจัดเก็บเอกสาร และการสืบค้นเอกสารที่ล่าช้า

 

สีบเนื่องจากในแต่ละวัน ทางหน่วยงาน อบต. และ อบจ. จะมีเอกสารผ่านเข้ามาให้ดำเนินการทั้งภายในและภายนอกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางหน่วยงานจะต้องรับเอกสารข้อมูลมาจากสารบรรณกลางอีกทางหนึ่ง จึงทำให้มีการทำสำเนาเอกสารข้อมูลชุดเดิมซ้ำ ๆ และเมื่อเวลาผ่านไป การตรวจสอบและการสืบค้นเอกสารในการทำงานก็จะค่อย ๆ เกิดปัญหา เนื่องจากปริมาณเอกสารจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารมากพอ  อาจเกิดข้อผิดพลาดจากเลขที่อ้างอิงเอกสารซ้ำซ้อน หรือการใช้เวลาค้นหาเอกสารล่าช้า ทำให้ระบบการดำเนินงานต้องสะดุดและอาจส่งผลเสียต่อเนื่องตามมาได้

 

2. ไม่สามารถตรวจสอบสถานะของเอกสารได้ทันที

 

ด้วยการจัดเก็บเอกสาร อบต. และ อบจ. ในรูปแบบเก่า ไม่สามารถตรวจสอบได้ในทันทีว่าเอกสารได้ดำเนินการถึงขั้นตอนใด อยู่ในสถานะใด และไม่สามารถมองเห็นปัญหาหรือขั้นตอนใดบ้างที่มีการติดขัด ซึ่งการบอกสถานะของเอกสารแบบ Real time เป็นสิ่งที่ช่วยบอกว่าเอกสารนั้น ๆ ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนไหนแล้วบ้าง ทำให้สามารถทราบได้ทันทีว่าต้องจัดการกับเอกสารนั้นอย่างไร และต้องการเอกสารใดเพิ่มเติม หรือหากพบว่าติดปัญหาในขั้นตอนไหน จะช่วยให้แก้ไขปัญหานนั้นได้อย่างทันท่วงที

 

3. เอกสารสำคัญอาจถูกปลอมแปลง

 

เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารควรมีความชำนาญ มีความระมัดระวัง และควรได้รับการอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าการตรวจสอบมีคุณภาพ หากเอกสารสำคัญ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้าน ถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเสียหายแก่ประชาชน โดยที่ผ่านมาในการตรวจสอบเอกสาร จะใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชนและการลงลายมือชื่อเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากในการตรวจสอบ และทำให้ต้องเสียเวลาในการพิสูจน์เพื่อยืนยันตัวตน จะเห็นได้ว่ายังมีความเสี่ยงที่ผู้เข้ามารับใช้บริการจะให้ข้อมูลหรือหลักฐานเท็จได้ ดังนั้นการจัดเก็บเอกสาร อบต. และ อบจ. ที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีการกำหนดวิธีการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานของประชาชนให้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมให้มีประสิทธิมากมากขึ้น

 

4. เอกสารสำคัญชำรุดหรือสูญหาย 

 

เมื่อความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพื้นฐานขั้นต้นขององค์กรทั่วไปและภาครัฐที่พึงปฏิบัติ ด้วยการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงตัวเอกสารสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูล และป้องกันการขโมยฐานข้อมูลสำคัญ ซึ่งการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเก่า มีผู้ใช้งานเอกสารจำนวนไม่ใช้น้อยที่สามารถเข้าถึงตัวเอกสารนั้น ๆ ได้ง่าย หรือแม้แต่ในขั้นตอนการผ่านกระบวนการรอพิจารณา หรืออนุมัติจากผู้บริหาร ที่ทำให้เอกสารมีการเปลี่ยนแปลงที่จัดเก็บ ทำให้เกิดช่องว่างที่จะเข้าถึงตัวเอกสารได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้เอกสารสำคัญ อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการชำรุด หรือสูญหายได้ในที่สุด ซึ่งผลเสียดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรภาครัฐได้อย่างมหาศาลได้ แม้ในปัจจุบันกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังไม่ได้บังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ

 

อย่างไรก็ตาม การให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำในหน่วยงานนั้น ๆ รวมถึงสะท้อนถึงคุณภาพของการบริการที่ทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

5. พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

 

เมื่อไม่นานมานี้มีการลงมติเห็นชอบในส่วนของร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้รูปแบบการทำงานของภาครัฐเข้าสู่ระบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดเก็บเอกสารราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบป้องกันข้อมูลสำคัญ เสริมสร้างการทำงานแบบ work anywhere anytime ให้หน่วยงานราชการทำงานได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วยให้ภาคประชาชนติดต่อกับหน่วยงานราชการได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการประกาศ พ.ร.บ. นี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เพราะฉะนั้น พ.ร.บ. นี้นับเป็นอีกสัญญาณสำคัญ ที่ทำให้หน่วยงานราชการทุกหน่วย หันมาให้ความสำคัญกับการแปลงรูปแบบข้อมูลเอกสาร และการจัดเก็บเอกสารบนระบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

 

ด้วยสัญญาณทั้ง 5 ข้อ โดยเฉพาะการประกาศใช้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดแรงกระเพื่อม ทำให้หน่วยงานราชการ รวมถึง อบต. และ อบจ. ต้องหันมาใช้เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การก้าวข้ามสู่โลกดิจิทัลอย่างการใช้ระบบจัดเก็บเอกสาร เพื่อเข้ามาประยุกต์ใช้ภายในหน่วยงาน ลดขั้นตอนการทำงาน ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ง่ายขึ้น รวดเร็ว และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้พนักงานในหน่วยงานราชการได้เข้าใจ พร้อมปรับกระบวนการทำงานให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที 

 

ท้ายที่สุดเมื่อ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการ การเลือกใช้ตัวช่วยเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ควรใส่ใจ ด้วยเหตุนี้ Ditto ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับรูปแบบการทำงานของแต่ละหน่วยงาน ทำให้มีการพัฒนา ระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. อย่างต่อเนื่อง และพร้อมเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานราชการ ที่โดดเด่นด้วยการเป็นระบบที่ได้มาตรฐาน สามารถติดตามสถานะการทำงานได้ทุกขั้นตอน จัดเก็บและสืบค้นเอกสารได้เป็นระเบียบ รวดเร็ว มีฟังก์ชันการจำกัดสิทธิ์เข้าถึงเอกสาร ช่วยป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้ตามมาตรฐานสากล สอดรับกับกฎหมาย PDPA และฟังก์ชั่นอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานของหน่วยงานราชการ อบต. และ อบจ. ในทุกมิติ 

 

 

สอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand