ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

  • March 15, 2024

News Description

ปฏิวัติองค์กรที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วย Data Architecture เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายดายยิ่งขึ้น

 

ในปัจจุบันมีข้อมูลเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล (Big Data) หากองค์กรไม่สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นวงกว้าง ทุกองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้และสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจ จึงมีการใช้ “Data Architecture” หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “สถาปัตยกรรมข้อมูล” มาวางระบบฐานข้อมูลภายในองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้น

 

บทความนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักว่า Data Architecture คืออะไร? มีความสำคัญและกระบวนการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ในองค์กรของคุณ

 

Data Architecture คืออะไร

 

Data Architecture คือ การวางระบบและการวางแผนจัดการข้อมูลภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้มีความคล่องตัวในการเรียกข้อมูลมาใช้งาน โดยจัดการกับข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ข้อมูลมีแหล่งที่มาจากไหน จัดเก็บไว้ที่ไหนและรูปแบบใด เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งโครงสร้างของ Data Architecture อาจจะมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและหน้าที่ของแต่ละองค์กรนั่นเอง

 

องค์ประกอบสำคัญของ Data Architecture คือ

 

data warehouse architecture

 

องค์ประกอบของ Data Architecture คือ การมีข้อมูลและ workflow ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 3 ช่วง ซึ่งแต่ละช่วงมีการทำงานอย่างไรเรามาดูกันเลย

 

1. Data Warehouse

Data Warehouse คือ แหล่งเก็บข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงหลาย ๆ แหล่งที่แตกต่างกันในองค์กร หรือเรียกอีกอย่างว่าข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นช่วงที่วิเคราะห์ข้อมูลต้นทางตามเป้าหมายของธุรกิจหรือองค์กรผ่านเครื่องมือวิเคราะห์และจัดการข้อมูลต่าง ๆ

 

2. Data Mart

Data Mart คือ ระบบพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีข้อมูลเฉพาะสำหรับหน่วยธุรกิจขององค์กร ประกอบด้วยข้อมูลเล็ก ๆ ที่เลือกไว้บางส่วนที่บริษัทจัดเก็บไว้ในระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเหมือนซับเซตเล็ก ๆ ของข้อมูลที่ผ่านการจัดเรียงและผ่านการ Cleansing ด้วยการตรวจจับ แก้ไข ลบ ข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อน รวมไปถึงการแทนที่ข้อมูลที่เสียหายหรือไม่ถูกต้องจากฐานข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ ทำรายงาน เป็นหน้าต่างหรือ Dashboard ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าใจได้ หรือที่เราเรียกว่า Data Visualized นั่นเอง

 

3. Data Lake

Data Lake หรือ Data Lake Architecture คือ แหล่งรวมข้อมูลข้อมูลดิบเอาไว้ โดยจัดเก็บข้อมูลแบบไม่ต้องวางโครงสร้างหรือจำแนกหมวดหมู่ ตั้งแต่แดชบอร์ดและการแสดงภาพไปจนถึงการประมวลผล Big Data การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ และ Machine Learning เพื่อสร้างแนวทางการตัดสินใจที่ดีขึ้น

 

ความสำคัญของ Data Architecture

 

data warehouse architecture

 

เป้าหมายสำคัญในการออกแบบ Data Architecture คือ กำหนดโมเดล (model) ในการจัดการข้อมูลขององค์กรทั้งหมด ระบุว่าต้องการข้อมูลจากไหน รูปแบบใด ผ่านเครื่องมือใด มีความจำเป็นอย่างมากกับองค์กรที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาล เช่น โรงพยาบาล โรงงาน หรือธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ฯลฯ

 

ประโยชน์ของ Data Architecture

นอกจากนี้ Data Architecture ยังมีประโยชน์คือ ช่วยให้องค์กรจัดการกับข้อมูลในด้านอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น
  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับองค์กรและผู้ใช้งานภายในสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้มีการปรับปรุง พัฒนา หรือติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล
  • ช่วยให้การจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle) ในอนาคตมีความสะดวกมากขึ้น
  • ช่วยรักษาข้อมูลให้มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

 

สิ่งสำคัญในการออกแบบ Data Architecture

การออกแบบ Data Architecture คือสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และช่วยอำนวยความสะดวกได้จริง เรามาดูกันดีกว่ามีข้อสำคัญอะไรที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบ Data Architecture กันบ้าง

 

 

1. ความเหมาะสมในการใช้งาน สามารถจัดการระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดเรียงข้อมูลควรมีความเหมาะสมกับงานของผู้ใช้งานนั้น ๆ เพื่อลดความซับซ้อนของระบบและปัญหาในการนำไปใช้ ควรมีหน้า Interface ที่สามารถใช้งานได้ง่าย

 

2. มีความยืดหยุ่น รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ (Flexible System)

ควรมี workflow ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่เทคโนโลยีที่ทำหน้าที่เดียวกันในอนาคต และสามารถทำงานกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่ยังอยู่ใน workflow ได้อยู่

 

3. รองรับระบบคลาวด์ (Cloud System) และบริหารข้อมูลได้แบบ Real-time

Data Architecture ในปัจจุบันได้เป็นระบบ Cloud-based กันหมดแล้ว เพราะหลายองค์กรต้องการใช้ข้อมูลแบบประมวลทันที (real-time data) จึงควรออกแบบ Data Architecture ให้สามารถรองรับระบบคลาวด์ได้นั่นเอง

 

4. สามารถคัดกรองข้อมูลที่มีคุณภาพได้ (Identify Valuable Data)

เริ่มขั้นแรกคือทำ Data Cleansing เพื่อคัดเลือกข้อมูลที่จำเป็นและมีความสำคัญสำหรับองค์กรหรือมีคุณค่ากับเป้าหมายทางธุรกิจ นิยามข้อมูลคุณภาพ (valuable data) ที่องค์กรต้องการ จากโจทย์และเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกแบบ Data Architecture ที่คัดแยกข้อมูลที่มีคุณภาพออกมาได้ตั้งแต่เริ่มต้น ช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ต้องประมวลผล ลดเวลาในการทำงาน และช่วยเพื่อความชัดเจนของข้อมูล

 

 

สรุป Data Architecture

โดยสรุปแล้วการทำ Data Architecture คือ การวางรากฐานการจัดการข้อมูล หากมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีก็จะส่งผลให้สามารถวางแผนและสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาล เช่น การนำข้อมูลจาก Data Architecture มาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ทำให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด และวางกลยุทธ์สำหรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย

 

Ditto (ดิทโต้) พร้อมเป็นผู้สนับสนุนหลักที่จะช่วยบริหารเอกสารและข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการบริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสารแบบครบวงจร หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษา เรายินดีให้คำแนะนำด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์เฉพาะทางมากกว่า 20 ปี

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด ระบบระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. เพิ่มเติม

📞 02-517-5555

Line ID: @dittothailand