ข่าวสารประชาสัมพันธ์

ข้อดีของ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ อ่านต่อ

4 ข้อดี ทำไมถึงควรมีพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

September 2, 2022

  ก่อนที่เราจะไปพูดถึงข้อดีของการมีพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เราไปทำความรู้จักกับพระราชบัญญัตินี้กันก่อน ว่าคืออะไร   ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์   พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล และสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักได้ และเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 258 ข. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (1) ที่บัญญัติให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงาน การบริการภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัลโดยแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคให้เอื้อต่อการพัฒนาหน่วยงานของรัฐไปสู่องค์กรดิจิทัล และส่งเสริมให้เกิดระบบข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ ตลอดจนเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ตัวอย่างสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์   การยื่นคำขอ จ่ายเงิน หรือติดต่อราชการ ประชาชนสามารถทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะปฏิเสธไม่รับคำขอนั้นเพียงเพราะเหตุที่ผู้ขออนุญาตใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มิได้ ยกเว้น การจดทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การสมรส การหย่า การรับบุตรบุญธรรม การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทาง   การแสดงใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์... read more

ประเภทเอกสาร อบต. อ่านต่อ

6 เอกสาร อบต. ที่ควรจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์

September 2, 2022

  ต้องยอมรับกันก่อนว่า “ความสำเร็จในการบริหารงานการจัดการของหน่วยงานราชการ” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ และระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรร่วมด้วย   สืบเนื่องจากการจัดเก็บเอกสารของหน่วยงาน อบต. ในปัจจุบัน โดยเฉพาะเอกสารข้อมูลสำคัญ มักจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบของกระดาษ ซึ่งทำให้ยากต่อการดูแลรักษาหรือต้องนำกลับมาใช้งาน และอาจก่อให้เกิดการสูญหายในที่สุด ดังนั้น ธุรกิจการให้บริการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยพัฒนากระบวนการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม   อบต. คืออะไร   อบต. ย่อมาจาก “องค์การบริหารส่วนตำบล” เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล เขต อบต. แทนรัฐบาลกลาง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด   6 เอกสารสำคัญของหน่วยงาน อบต. ที่ควรจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์   1. หนังสือภายนอก เนื่องจากเป็นหนังสือที่ต้องใช้ในการติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการ ใช้ในการติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก   2. หนังสือภายใน เป็นหนังสือติดต่อราชการ แต่มีพิธีการน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้ในการติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน โดยมีข้อมูลในการบันทึกข้อความลงในเอกสารเป็นจำนวนมาก   3. หนังสือประทับตรา หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและลงชื่อย่อกำกับตรา และสามารถใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ... read more

ระบบจัดการเอกสาร อบจ. ช่วยแผนกไหนได้บ้าง อ่านต่อ

ระบบจัดการเอกสาร อบจ. ช่วยให้ฝ่ายไหนทำงานได้สะดวกขึ้นบ้าง

September 2, 2022

  ปัญหาเอกสารของหน่วยงาน อบจ. ที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเอกสารมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และขาดการบริหารจัดการในแต่ละกระบวนการ เมื่อต้องการเอกสารเพื่อนำไปเป็นหลักฐานพยานเอกสาร มักจะพบปัญหาว่าต้องใช้เวลานานในการสืบค้น และเอกสารบางส่วนกลับสูญหายไป ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่หน่วยงาน อบจ. ไม่สามารถบริการการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสื่อมประสิทธิภาพและความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อระบบราชการ ดังนั้น การมี พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายกลางในการปฏิบัติทางราชการอย่างเป็นแบบแผน เพื่อส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน อบจ. ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม   อบจ. คืออะไร   อบจ. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยเกิดขึ้นจากความต้องการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคมายังส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมเขตจังหวัด และเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีบทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและสนองตอบต่อความต้องการแก่ประชาชน   อำนาจหน้าที่ อบจ. ที่กฎหมายกำหนดอำนาจ   บทบัญญัติตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2541 ออกตามความใน พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 คือ   การมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร การกำจัดขยะมูลฝอย บำบัดน้ำเสีย เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ... read more

พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ อ่านต่อ

พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?

September 2, 2022

  การจัดเก็บข้อมูลเอกสารข่าวสารต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีระบบการจัดการกับเอกสารให้มีความพร้อมต่อการนําออกมาใช้งาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเอกสารจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในการจัดเก็บเอกสารให้มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เซ็นเอกสารที่ไหนก็ได้ อยู่ที่ไหนก็สามารถประชุมได้ เพราะโลกออนไลน์เชื่อมต่อทุกอย่างเอาไว้หมดแล้ว   และเมื่อไม่นานมานี้เอง พรบ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ถูกลงมติและลงรายละเอียด โดยพระราชบัญญัตินี้จะเข้ามาช่วยเสริมให้การทำงานออนไลน์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร   พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ กฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อต้องการส่งเสริมให้รูปแบบการทำงานและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล โดยสอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชการ การขออนุมัติ การอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงิน และการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน รวมทั้งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพแก่การปฏิบัติราชการของภาครัฐในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และลดปัญหาการทุจริต ดังนั้นจึงทำให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นความสำคัญของรัฐบาลไทยที่จะก้าวไปสู่ยุครัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน   และเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติเห็นชอบร่าง พรบ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ที่ทางคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเสียง ดังนี้   จำนวนผู้ลงมติ 387 ... read more

ความสำคัญของระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. อ่านต่อ

ระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ. คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ

September 2, 2022

  “ระบบราชการ” หลายคนทราบดีว่ามีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน เนื่องจากกฎระเบียบของราชการ ที่มีขั้นตอนการดำเนินงานมากมาย ส่งผลให้งานล่าช้า หรือการออกหนังสือราชการที่ยังเป็นรูปแบบเอกสาร โดยเฉพาะหนังสือเวียนที่ต้องพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก และให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำการเซ็นเอกสารทุกฉบับ อีกทั้งหนังสือเวียนนี้ยังต้องใช้เจ้าหน้าที่เป็นผู้เดินเอกสาร   “จะดีกว่าไหม? หากไม่ต้องมาพิมพ์หนังสือราชการเป็นจำนวนมาก ไม่ต้องหาคนมาเดินหนังสือเวียน หรือแม้กระทั่งไม่ต้องมานั่งค้นหาเอกสารในแฟ้มงานตามชั้นวางให้เสียเวลา”   เจ้าหน้าที่ข้าราชการจะได้เอาเวลาไปบริการประชาชน วางแผนงบประมาณ จัดทำแผนงานพัฒนาพื้นที่ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการเอกสารแทน และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการร่าง พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุญาตให้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการมากขึ้น ส่งเสริมการทำงานรูปแบบดิจิทัล และการให้บริการของภาครัฐที่ทันสมัย ลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว   โดย Ditto ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีระบบจัดการเอกสาร DMS หรือ Document Management System เราเล็งเห็นปัญหาเอกสารในหน่วยงานรัฐ และเข้าใจกฎระเบียบของหนังสือข้าราชการอย่างดี เราจึงออกแบบระบบจัดการเอกสาร สำหรับ อบต. และ อบจ. โดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้ระบบจัดการเอกสารที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่ว่าที่ไหนคุณก็จัดการเอกสารได้ แต่เรื่องนี้ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับหน่วยงานรัฐ หลายคนยังสงสัยว่าระบบจัดการเอกสาร อบต. และ อบจ.... read more

สร้าง-Workflow-องค์กรอย่างไร ให้การทำงานเป็นระบบ อ่านต่อ

สร้าง Workflow องค์กรอย่างไร? ให้การทำงานเป็นระบบ

September 1, 2022

  ในโลกของธุรกิจ การวางแผนถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะถ้ามีการวางแผนที่ไม่รัดกุม ไม่ชัดเจน อาจนำไปสู่กระบวนการที่ล้มเหลวได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความล้มเหลว หลาย ๆ องค์กรจึงหันมาใส่ใจ Workflow เพื่อพัฒนาการวางแผนขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีของแต่ละองค์กร ดังนั้นวันนี้ Ditto จะมาพูดถึง ขั้นตอนการสร้าง Workflow ตั้งแต่เริ่มต้น   ขั้นตอนการสร้าง Workflow องค์กร 1. เลือกแผนกที่ต้องจำเป็นต้องปรับระบบ Workflow ลองถามองค์กรของตัวเองดูว่า แผนกไหนจำเป็นต้องปรับ Workflow โดยเร็วที่สุด ด้วยการลิสต์ปัญหาของแต่ละแผนกออกมาเป็นข้อ ๆ แล้วเลือกแผนกที่มีปัญหามากที่สุดมาปรับ Workflow ก่อน เป็นแผนกแรก แล้วค่อยปรับใช้กับแผนกอื่น ๆ ต่อไป หรือจะเลือกจากแผนกที่องค์กรให้ความสำคัญมากที่สุดก็ได้ ไม่มีกฎตายตัว หรือว่าถูกผิด   2. สำรวจ Workflow เดิม เมื่อเลือกแผนกที่ต้องการปรับได้แล้ว สิ่งต่อมาคือ สำรวจ Workflow เดิม ว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เริ่มต้นที่ใคร จบที่ใคร ระหว่างทางต้องประสานงานกับแผนกไหนบ้าง มีเอกสารอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง   3.... read more

AI-นำมาใช้ในองค์กรที่ต้องการ-Digitization-ในด้านไหนได้บ้าง_ อ่านต่อ

AI นำมาใช้ในองค์กรที่ต้องการ Digitization ในด้านไหนได้บ้าง?

August 23, 2022

  ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยี AI ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาต่อยอด จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายบนโลกดิจิทัล โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ต้องการทำ Digitization ซึ่งปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ส่งผลให้การจัดการภายในองค์กร มีความยืดหยุ่นและเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า วันนี้ Ditto จึงอยากจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ ว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไรต่อการทำธุรกิจ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการทำงานไปในทิศทางใดได้บ้าง   ปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร? เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาคธุรกิจ ที่ต้องการทำ Digitization   AI (Artificial Intelligence) หรือที่รู้จักกันในชื่อไทยว่า “ปัญญาประดิษฐ์” เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือทำงานซ้ำซากต่าง ๆ แทนมนุษย์ ในปัจจุบัน AI ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายสาขาอาชีพ โดยเฉพาะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่ตัวปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาเพิ่มศักยภาพการทำงานให้กับองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการนำ AI มาประยุกต์ใช้งานนั้น ได้ช่วยให้หลายองค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง พร้อมกับช่วยสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ทั้งยังตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัล ส่งเสริมให้ตัวองค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป     แนวทางการประยุกต์ใช้ AI ในภาคธุรกิจ ที่มีการทำ Digitization AI... read more

อ่านต่อ

ปรับองค์กรให้เป็น Hybrid Working ด้วย e-Document

August 15, 2022

  การทำงานแบบ WFH หรือสลับกันเข้าออฟฟิศ คือแนวทางการทำงานแบบใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการทำงานแบบเดิม ที่ให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้มากขึ้น ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ทำงานก็พร้อมเริ่มงานได้ทันที และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทางต่อวันที่แทบจะกินพื้นที่หนึ่งในสี่ของรายได้ ทำให้มีเวลากับตัวเองมากขึ้น โฟกัสกับชีวิตของตัวเองได้ดีกว่า การทำงานแบบนี้นี่แหละที่เรียกกันว่า “Hybrid Working”   Hybrid Working คืออะไร? Hybrid Working ในทางทฤษฎี คือ ข้อตกลงที่มีร่วมกันระหว่างเจ้านายและพนักงานให้จัดรูปแบบการทำงาน จากที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการจัดการชีวิตตัวเอง สร้างทางเลือกในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรอยู่ แค่พกแล็ปท็อปไปด้วย คุณก็เข้างานได้แล้ว จากผลแบบสอบถามความเห็นพนักงานของ Envoy ระบุว่า “พนักงานกว่า 47% คงรู้สึกอยากลาออกแน่ ๆ หากที่ทำงานไม่ยอมเปลี่ยนการทำงานมาเป็น Hybrid Working” และมากถึง “59% ของพนักงานต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาอยากให้เปลี่ยนมาเป็นการทำงานแบบ Hybrid มากกว่าแบบเดิม” ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วอัตราส่วนคนที่อยากทำงานจากที่ไหนก็ได้กินพื้นที่เกือบครึ่งหรือเกินครึ่งไปแล้วของการสำรวจ เนื่องจากพนักงานต่างเห็นคุณค่าของการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้ Hybrid Working กลายเป็นการทำงานแบบที่ใคร ๆ ก็ต้องการกันมาก ยังมีข้อดีอีกหลายข้อ ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อพนักงาน แต่ยังส่งผลกับองค์กรเองด้วยเช่นกัน ดังนี้     ข้อดีของการทำงานแบบ Hybrid... read more

3-หัวใจหลัก-ในการจัด-Workflow-ระดับองค์กร อ่านต่อ

3 หัวใจหลัก ในการจัด Workflow ระดับองค์กร

August 10, 2022

  Ditto เคยได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ ระบบ Workflow ไปมากมาย เช่น ระบบ Workflow คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร? หรือ บทความจบปัญหารออนุมัติด้วย Workflow ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อทุกคนที่กำลังสนใจการเปลี่ยนองค์กรให้อยู่ในกระบวนการ Digitization เป็นอย่างมาก และในวันนี้ทาง Ditto ก็ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ 3 หลักองค์ประกอบ Workflow ที่ทุกธุรกิจควรมี เพื่อให้งานไหลลื่น ให้เข้าใจถึงความสำคัญของระบบ Workflow มากยิ่งขึ้นกันครับ   3 หลักองค์ประกอบของ Workflow ประกอบไปด้วย 1. งาน (Job) งาน (Job) ของระบบ Workflow ที่เรากำลังกล่าวถึงในที่นี้ จะอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานภายในองค์กรไหลลื่นไปได้ด้วยดี โดยเอกสารหรือฟอร์มจะมีการเปลี่ยนจากกระดาษให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ที่ช่วยให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะระบบ Workflow จะเข้ามาทำหน้าที่กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของเอกสาร เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล และจะมีการบันทึกข้อมูลการทำงานไว้ภายในระบบอย่างครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเข้ามาแก้ไขข้อมูลตรงส่วนไหนบ้าง นอกจากนี้เอกสารหรือฟอร์มต่าง ๆ ภายในระบบ Workflow... read more

อ่านต่อ

ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน BURGER KING Drive-Thru สาขาตลาดต้นตาล จ.ขอนแก่น

August 10, 2022

ดิทโต้ติดตั้งระบบไดร์ฟทรูให้ร้าน BURGER KING Drive-Thru สาขาตลาดต้นตาล จ.ขอนแก่น ขอแสดงความยินดีกับสาขาใหม่ ที่ดิทโต้เป็นผู้วางระบบ ติดตั้ง และทำการอบรมการใช้งานให้กับพนักงานทั้งหมด แวะเข้าไปใช้บริการรับความอร่อยกันได้แล้วนะครับ พิกัด https://goo.gl/maps/F47VHsR936NyieY26 ขอบคุณความไว้วางใจที่ให้ดิทโต้ ติดตั้งและดูแลระบบ Drive-Thru ครับ สนใจสินค้าสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 📞  0-2517-5555 https://www.dittothailand.com/contact-us/ Line ID: @dittothailand read more

ปัญหาซ้ำซาก-ถ้าหากยังใช้-Invoice-Processing-แบบเดิม-ๆ อ่านต่อ

ปัญหาซ้ำซาก ถ้าหากยังใช้ Invoice Processing แบบเดิม ๆ

August 6, 2022

  เมื่อไหร่ก็ตามที่เราถูกจำกัดอยู่ในกรอบเดิม ๆ โดยไม่พัฒนาให้ก้าวทันโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี เมื่อนั้นเราอาจจะพบเจอกับปัญหายุ่งเหยิงที่รอการแก้ไขก็เป็นได้ อย่างเช่น การทำงานของแผนกบัญชีและการเงินในบริษัทต่าง ๆ ที่ยังมีการใช้ใบแจ้งหนี้แบบเดิม ซึ่งทุกคนทราบไหมครับว่าการแจ้งหนี้แบบเดิมนี้ สามารถนำไปสู่ปัญหาอะไรได้บ้าง วันนี้ Ditto มีคำตอบมาฝากทุกคน จะมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยครับ!   ปัญหาการใช้ Invoice Processing แบบเดิม   1. ใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก ด้วยความหลากหลายของเอกสารภายในแผนกบัญชีและการเงิน ซึ่งเต็มไปด้วยตัวเลข และยังต้องทำงานแข่งกับเวลาควบคู่กับความถูกต้อง จึงทำให้หลายองค์กร ต้องจ้างพนักงาน ในแผนกบัญชีและการเงินนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อเข้ามาตรวจสอบเอกสารการเงินต่าง ๆ อย่างเช่น ใบ PO (Purchase Order), DO (Delivery Order), WO (Work Order), หรือ PR (Purchase Requisition) ให้มีความถูกต้อง รวมถึงจัดการ Invoice Processing ให้เป็นไปตามกระบวนการที่มันควรจะเป็น   2. เกิด Human Error ได้ง่าย แม้จะจ้างพนักงานในแผนกบัญชีและการเงินจำนวนมากแค่ไหน... read more

e-Signature-ยกระดับ-e-Document-ได้อย่างไร อ่านต่อ

e-Signature ยกระดับ e-Document ได้อย่างไร?

August 1, 2022

  องค์กรใดที่มีการใช้งาน e-Document หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ คงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีการใช้ e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารควบคู่ไปด้วย เพราะความสามารถที่โดดเด่นของมัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกรรมให้สะดวก รวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น     e-Signature คืออะไร? ชื่อเต็มคือ Electronic Signature หรือภาษาไทยคือ “ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์” เป็นเครื่องมือที่ช่วยยืนยันความสัมพันธ์ ของตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายเซ็น กับพันธสัญญาในเอกสารนั้น ๆ     โดยตัวลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นตัวเลข, อักขระ, ตัวอักษร, หรือสัญลักษณ์ในการระบุแทนตัวตนได้ โดยลายเซ็นจะถูกบีบอัดเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคโนโลยีในการช่วยเข้ารหัส สำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ ทำให้มีความปลอดภัยสูง ตรวจสอบย้อนหลังได้     ประโยชน์ของ e-Signature ที่มีดีมากกว่าแค่ลายเซ็นบนหน้าจอ     ยกระดับความน่าเชื่อถือของ e-Document e-Signature จะทำงานควบคู่กับ e-Document ที่รันอยู่บนระบบ DMS ช่วยรักษาความปลอดภัยของเอกสารได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถตรวจสอบเอกสารได้อย่างอัตโนมัติ     ทำธุรกิจข้ามประเทศได้สะดวก การใช้งานเอกสารแบบเดิม ที่ต้องมีการใช้ลายเซ็นจากปากกาจริง เมื่อมีการทำสัญญาข้ามประเทศ ทำให้ต้องเสียค่าขนส่งเอกสาร และเวลาเพิ่มมากขึ้นกว่าจะได้ลายเซ็นกลับมา แต่เมื่อมีการใช้งาน e-Signature บนเอกสาร e-Document ก็สามารถเซ็นเอกสารจากที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต... read more